3 กลยุทธ์ สยบอารมณ์โกรธด้วย Neuroscience

อารมณ์โกรธ(Anger) เป็นสิ่งที่ทุกคนเจอ และเจอกันวันละหลายๆรอบ

มีศาสตร์ และหลักการทางจิตวิทยามากมายที่สอนถึงวิธีระงับอารมณ์โกรธเมื่อเกิดขึ้นมาแล้ว
หลายวิธีได้ผล หลายวิธีล้มเหลว
มันจะมีวิธีอะไรที่ใช้ได้ผลกับคนส่วนใหญ่ และใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ที่สำคัญ ยืนอยู่บนพื้นฐานของการแพทย์ด้านประสาทวิทยาศาสตร์(Neuroscience) บ้างหรือไม่
เพราะอารมณ์(Emotion) เป็นสิ่งที่เราจับต้องไม่ได้ แต่สัมผัสรับรู้ถึงมันได้ และมันมีแหล่งที่อยู่ที่ชัดเจนในสมองหรือไม่ เพราะถ้ามีจริง ก็เท่ากับว่า เราสามารถที่จะฝึกสมอง(Brain training) ให้ควบคุมอารมณ์ให้อยู่มือได้มากยิ่งขึ้นนั่นเอง อ่านเพิ่มเติม “3 กลยุทธ์ สยบอารมณ์โกรธด้วย Neuroscience”

(ตอนที่ 2) ฝึกลูกอย่างไร ให้ชนะ Googling

“ในยุคนี้ที่จะหาอะไรก็ Googling ได้หมด คนที่จะอยู่รอดไม่ใช่คนที่รู้ทุกอย่าง เพราะในแต่ละวินาทีก็จะมีข้อมูลใหม่ทะลักเข้ามา ความรู้ที่เรามีก็จะกลายเป็นความรู้ทีล้าสมัย(Outdated) ได้ในทันที”

อ่านเพิ่มเติม “(ตอนที่ 2) ฝึกลูกอย่างไร ให้ชนะ Googling”

(ตอนที่ 1) ฝึกลูกอย่างไร ให้ชนะ Googling

จากการโหมกระหน่ำของข้อมูลข่าวสารอันมหาศาลในยุคปัจจุบันนี้ที่เรียกว่า IOKO(Information Overload Knowledge Overflow) ได้ส่งผลต่อการทำงานในหลายส่วนของสมอง และจิตใจของลูกเรา โดยเฉพาะในช่วงเข้าสู่วัยรุ่นที่สมองส่วนที่ตอบสนองต่อการได้รางวัล(Reward system) มีความไวเป็นพิเศษ(Sensitive) และสมองส่วนนี้จะมีการหลั่งสารสื่อสมองที่เรียกว่า โดปามีน(Dopamine) เมื่อรู้สึกมีความสุข เคลิบเคลิ้มไปกับการได้รับการยอมรับ(จากยอด Like ที่สูง) ส่งผลให้วัยรุ่นในยุคนี้ มีสมาธิที่สั้น(Short attention span) และมีแนวโน้มที่จะเกิดภาวะซึมเศร้า(Depression) ได้ง่าย 
ผลกระทบที่เกิดขึ้นไม่ว่าจะเป็นเรื่อง สมาธิที่สั้นลง เพราะมัวแต่มองหาสิ่งที่กระตุ้นให้เกิดอารมณ์สุข เช่น รูปของตัวเองที่มียอดไลค์ที่สูง รวมไปถึง การที่สมองของเด็กยุคใหม่ถูกฝึกให้ตัดสินใจเร็วที่จะ “รีบเชื่อ” “รีบแชร์” และ “คอมเมนต์” ในเรื่องต่างๆที่เกิดขึ้นมาในแต่ละวัน เพราะไม่ต้องการที่จะตกกระแส(FOMO – Fear Of Missing Out) และการต้องการได้รับการยอมรับจากสังคม(Conformity) ล้วนส่งผลเสียต่อการทำงานของสมองของเด็กโดยไม่รู้ตัว
เนื่องจากการรีบตัดสินใจ “เชื่อ แชร์ และคอมเมนต์” นั้น ทำให้มีแต่การสร้างวงจรสมองส่วนเร็ว(Fast system)* ที่เกี่ยวข้องกับอารมณ์ และความเชื่อเป็นหลัก ในขณะที่สมองส่วนตรรกะ และเหตุผล ที่ทำงานได้ช้า แต่ทรงประสิทธิภาพมากกว่า(Slow System) ไม่มีโอกาสได้ทำงานเท่าไหร่นัก ซึ่งหลักการของสมองที่ได้รับการพิสูจน์แล้วก็คือ ยิ่งใช้สมองส่วนไหน สมองส่วนนั้นก็จะมีการเชื่อมโยงใหม่ๆเกิดขึ้นตลอด ทำให้สมองส่วนนั้นทำงานได้อย่างง่ายดายมากยิ่งขึ้น จนถึงขั้นทำงานได้อย่างอัตโนมัติ(Autopilot) ในขณะที่สมองที่ไม่ค่อยได้ถูกใช้ ก็จะมีการเชื่อมโยงลดลงเรื่อยๆ ก็จะทำให้มีความยากลำบากในการใช้งานมากยิ่งขึ้นไป
**ซึ่งถ้าผู้ใดสนใจที่จะศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับ ระบบการคิดแบบเร็ว และช้า(Fast and Slow systems) สามารถที่จะอ่านเพิ่มเติมได้จากหนังสือ “Thinking, Fast and Slow” ของ Daniel Kahneman ผู้ได้รับรางวัลโนเบลปี 2002 สาขา  Nobel Memorial Prize in Economic Sciences
woman-3169680_1920.jpg
นั่นก็คือ Social medias ที่มีปริมาณข้อมูลมากมหาศาล(IOKO) ที่ผ่านเข้ามาอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้มีการเชื่อมโยงสมองในส่วนของความเชื่อ และอารมณ์(Fast system) เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในขณะที่การใช้เหตุผลลดลง สมองส่วนที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับหลักการ และเหตุผล(Slow system) ก็มีการเชื่อมโยงที่ลดลงไปเรื่อยๆ สุดท้าย ก็จะส่งผลให้สังคมเรามีแต่เด็ก ที่ใช้แต่ความเชื่อ และอารมณ์ มากกว่าการใช้หลักการ และเหตุผลในที่สุด
ถ้าเรายังปล่อยไปแบบนี้ สุดท้าย เด็กเหล่านี้ก็จะคิดเองไม่เป็น เชื่อแต่การชี้นำของสังคม และคนรอบข้างเป็นหลัก ไม่สามารถที่จะคิดอะไรที่แตกต่างอย่างสร้างสรรค์ได้เลย(Innovation) และพวกเค้าเหล่านั้น ก็จะต้องแพ้ต่อเทคโนโลยีที่มีแต่จะก้าวหน้าขึ้นอย่างก้าวกระโดดในแต่ละปี ไม่ว่าจะเป็นในเรื่อง ปัญญาประดิษฐ์(AI) และการค้นหาข้อมูลอันมหาศาลจากการ Googling ได้ในเสี้ยววินาที แต่พวกเค้ากลับไม่รู้ว่า ข้อมูลไหน จริง เท็จ หรือมีประโยชน์อะไรหรือไม่

question-mark-2492009_1920 (1).jpg

อ่านเพิ่มเติม “(ตอนที่ 1) ฝึกลูกอย่างไร ให้ชนะ Googling”

Social medias ทำอะไรกับสมองของลูกคุณ สิ่งที่พ่อแม่ไม่เคยรู้

“Social medias ทำอะไรกับสมองของลูกคุณ”…

อ่านเพิ่มเติม “Social medias ทำอะไรกับสมองของลูกคุณ สิ่งที่พ่อแม่ไม่เคยรู้”

เมื่อเด็กแนวบูรณาการถูกสอนคณิตศาสตร์แบบที่ไม่มีใครสอน

เมื่อเด็กแนวบูรณาการถูกสอนคณิตศาสตร์แบบที่ไม่มีใครสอน

“คณิตศาสตร์ คือ เครื่องมือในการฝึกให้มนุษย์คิดได้อย่างเป็นระบบ ระเบียบ” 

Maths

นี่คือสิ่งที่ ปรมาจารย์ด้านคณิตศาสตร์ของไทยท่านนึงได้กล่าวไว้(เนื้อความประมาณนี้ คำพูดอาจไม่ตรงเป๊ะทุกคำนะครับ)

ท่าน อาจารย์ สกนธ์ ผ่องพุทธคุณ ที่ล่วงลับไปเมื่อปีที่แล้ว

อาจารย์สอนคณิตศาสตร์ ในแบบที่ผมยังไม่เคยเจอคนไทยที่ไหนสอนได้แบบนี้

เริ่มจาก ข้อกำหนดของนักคณิตศาสตร์รุ่นพี่ เราจำ ทำความเข้าใจ แล้วเราต้อง “แฉลบ” คือ คิดต่อยอดจากข้อกำหนดตรงนั้นออกไป 

อาจารย์จะใช้เวลาตรงนี้มาก

เมื่อเราคิดแฉลบต่อยอดออกมาได้ สิ่งเหล่านี้ อาจารย์เรียกว่า

“เกร็ดความจริง”

และเกร็ดความจริง ก็มักจะเป็นสูตร ที่อาจารย์คณิตศาสตร์คนอื่น มาสอนเราด้วยการบอกให้ฟัง จำ แล้วเอาไปใช้เลย

เราไม่เคยได้คิดสิ่งเหล่านี้ออกมาได้เอง ถ้าไม่ได้เรียนคณิตศาสตร์แบบที่อาจารย์สกนธ์ท่านสอน

อ่านเพิ่มเติม “เมื่อเด็กแนวบูรณาการถูกสอนคณิตศาสตร์แบบที่ไม่มีใครสอน”