“เราเคยแปลกใจกันบ้างไหมว่า ทำไมเพื่อนสมัยเรียนที่ดูเหมือนจะเป็นคนที่เรียนธรรมดามาก แต่เมื่อจบออกมาทำงาน กลับทำงานได้ดี และก้าวหน้ากว่าเพื่อนที่เรียนเก่งมากๆในรุ่นเสียอีก”
 self esteem
และเราก็ถูกสอนกันมาตลอดในการสร้างความภาคภูมิใจในตัวเอง(Self-esteem)ใหักับลูกหลานของเรา 
เราเชื่อกันมาตลอดว่า Self-esteem เป็นสิ่งที่ลูกหลานของเราต้องมี 
แล้วเราเคยตั้งคำถามง่ายๆกับตัวเองบ้างหรือไม่ว่า “สิ่งที่เราเชื่อเกี่ยวกับ Self-esteem นั้น ถูกต้องทุกอย่างหรือไม่???”
ผมไม่ได้บอกว่า Self-esteem เป็นสิ่งที่ผิด เพียงแต่กำลังจะบอกว่า ถ้าเราไม่เข้าใจเกี่ยวกับเรื่องนี้ดีพอในระดับหนึ่ง Self-esteem อาจจะกลายเป็นดาบสองคมที่ปิดกั้นศักยภาพที่แท้จริงของลูกคุณได้!!!
คุณเคยรู้สึกไม่กล้าที่จะแสดงความคิดเห็นที่แตกต่างจากคนส่วนใหญ่ เพียงเพราะกลัวจะถูกมองว่า ไม่ฉลาด บ้างไหม
คุณเคยรู้สึกกังวลว่า ถ้าคุณตอบคำถาม ในสิ่งที่คุณยังไม่รู้ ยังไม่แน่ใจ แต่คุณคิดว่าได้หาเหตุผลรอบคอบแล้ว แต่สุดท้าย ในเสี้ยววินาทีท้ายสุด คุณก็เลือกที่จะทำตัวเงียบ กลมกลืนไปกับคนอื่นๆรอบๆตัวคุณ เพียงเพราะคุณกลัวจะตอบผิด แล้วรู้สึกว่าเป็นคนโง่ในสายตาคนรอบข้างบ้างหรือไม่
คุณรู้สึกปลอดโปร่ง สบายใจที่จะทำตัวอยู่ใน กรอบของ Comfort zone ที่คุณเชี่ยวชาญในสิ่งที่คุณเคยประสบความสำเร็จใน อดีต (เช่น คุณภาคภูมิใจในความสำเร็จในการเรียนที่เป็นที่ 1 ของโรงเรียนในระดับมัธยม แต่เมื่อเข้าสู่รั้วมหาวิทยาลัย คุณกลับไม่กล้าที่จะทำสิ่งใหม่ๆที่คุณไม่เคยทำ) และไม่กล้าที่จะก้าวออกนอก Comfort zone บ้างหรือไม่
ทั้งหมดนั้น ก็คือ ด้านมืดของ Self-esteem ที่คุณอาจจะไม่เคยนึกถึง
 carol-dweck-604x238
กว่า 20 ปี ที่ ดร. Carol Dweck นักจิตวิทยาแห่งมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด สหรัฐอเมริกา ได้ทำการศึกษาวิจัยถึงปัจจัยที่ทำให้เด็กกลุ่มหนึ่งสามารถที่จะเติบโตขึ้นมาประสบความสำเร็จว่า แตกต่างจากเด็กที่เติบโตมาแล้วไม่ประสบความสำเร็จอย่างไรบ้าง
ดร. Carol ได้ค้นพบว่า ปัจจัยสำคัญในกลุ่มเด็กที่ไม่ประสบความสำเร็จนั้นก็คือ ความเชื่อ(Belief) ของเด็กในกลุ่มนี้ มีลักษณะที่ว่า “บุคลิกภาพ(Character) ความฉลาด(Intelligence) และความคิดสร้างสรรค์(Creativity) ของคนๆหนึ่งนั้นเป็นสิ่งที่ตายตัว ปรับเปลี่ยนไม่ได้”
เด็กกลุ่มนี้จะยึดติดกับ ความภาคภูมิใจ(Self-esteem) ในอดีตของตนเอง เช่น เคยเป็นคนเรียนเก่ง เมื่อต้องเผชิญกับสถานการณ์ใหม่ๆ ที่ตัวเองไม่ชำนาญ จะทำให้เด็กกลุ่มนี้ไม่กล้าที่จะลองผิดลองถูก กลัวที่จะผิดพลาด กลัวความล้มเหลว 
เด็กกลุ่มนี้เมื่อจะทำอะไร ต้องทำเพื่อการพิสูจน์(Prove) ว่า ตัวเค้ายังเป็นคนเก่ง คนสำเร็จ เท่านั้น ถ้าไม่มั่นใจว่า การกระทำนั้นๆ จะให้ผลลัพธ์ในความเชื่อดังกล่าว เค้าก็จะไม่ก้าวออกมานอกกลุ่มชนโดยเด็ดขาด
เด็กกลุ่มนี้จะมีลักษณะที่กระหายความสำเร็จ(Success) และทนไม่ได้ที่จะล้มเหลว(Failure) 
เด็กกลุ่มนี้จะทำทุกอย่างเพียงเพื่อพิสูจน์ว่า เค้ายังฉลาด เท่านั้น
ดร. Carol เรียกลักษณะกรอบความคิดที่มีผลต่อพฤติกรรม(Mindset) แบบนี้ว่า Fixed Mindset
โดยสรุปก็คือ Self-esteem ที่ใช้ไม่ถูกวิธี กลายเป็นดาบสองคมที่ทำให้เกิด Fixed Mindset และมีผลในการปิดกั้นศักยภาพที่แท้จริงของลูกของคุณได้
แล้วทางออกของปัญหาเหล่านี้มีหรือไม่ คืออะไร 
จะมาเล่าให้ฟังในตอนต่อไปนะครับ
คิดปรับมุม Brain Chef
 
Doctor T Neuro
 
ดอกเตอร์ที นิวโร

ใส่ความเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s