เมื่อเด็กแนวบูรณาการถูกสอนคณิตศาสตร์แบบที่ไม่มีใครสอน

“คณิตศาสตร์ คือ เครื่องมือในการฝึกให้มนุษย์คิดได้อย่างเป็นระบบ ระเบียบ” 

Maths

นี่คือสิ่งที่ ปรมาจารย์ด้านคณิตศาสตร์ของไทยท่านนึงได้กล่าวไว้(เนื้อความประมาณนี้ คำพูดอาจไม่ตรงเป๊ะทุกคำนะครับ)

ท่าน อาจารย์ สกนธ์ ผ่องพุทธคุณ ที่ล่วงลับไปเมื่อปีที่แล้ว

อาจารย์สอนคณิตศาสตร์ ในแบบที่ผมยังไม่เคยเจอคนไทยที่ไหนสอนได้แบบนี้

เริ่มจาก ข้อกำหนดของนักคณิตศาสตร์รุ่นพี่ เราจำ ทำความเข้าใจ แล้วเราต้อง “แฉลบ” คือ คิดต่อยอดจากข้อกำหนดตรงนั้นออกไป 

อาจารย์จะใช้เวลาตรงนี้มาก

เมื่อเราคิดแฉลบต่อยอดออกมาได้ สิ่งเหล่านี้ อาจารย์เรียกว่า

“เกร็ดความจริง”

และเกร็ดความจริง ก็มักจะเป็นสูตร ที่อาจารย์คณิตศาสตร์คนอื่น มาสอนเราด้วยการบอกให้ฟัง จำ แล้วเอาไปใช้เลย

เราไม่เคยได้คิดสิ่งเหล่านี้ออกมาได้เอง ถ้าไม่ได้เรียนคณิตศาสตร์แบบที่อาจารย์สกนธ์ท่านสอน

วันนี้ลองสอนคณิตศาสตร์น้องแพร(ลูกสาว)แบบนี้

ก่อนอื่น ขอท้าวความก่อนว่า น้องแพรไม่ใช่เด็กหัววิทย์(ในการสังเกตของผม ณ ตอนนี้นะครับ) น้องแพรเป็นเด็กภาษา และไม่เคยได้เรียนเลขแบบมาตรฐาน เรียนแบบบูรณาการมาตลอด จนเข้า ป.1 โรงเรียน สองภาษา
.
ตอนนี้จบ ป.1 ผมไม่รู้จะสอนอะไรดี ก็เลยลองสอนแบบง่ายๆก่อน

8+2 = เท่าไหร่(แพรตอบ 10) 
2+8 = เท่าไหร่ (แน่นอน ตอบ 10 ได้ในแทบจะทันที เพราะมันง่ายมากๆ)

ผมถามต่อว่า แล้ว แพร เห็นอะไรจาก 2 บรรทัดนั้น
 
8+2 = 10
2+8 = 10

ลองคิดตามนะครับ เราเห็นอะไร จากสองบรรทัดนี้ และให้พูดออกมา 

ครับ สำหรับน้องแพร ซึ่งไม่ใช่เด็กหัววิทย์ในสายตาผม
น้องแพรตอบว่า “บวกกัน มันสลับ หน้าหลังได้”

ง่ายๆ แค่นี้แระครับ คือ สิ่งที่ผมอยากได้ยิน

ผมเลยถามต่อว่า ถ้างั้น ถ้าไม่ใช้เป็นตัวเลข แต่แดดดี้ใช้ตัวอักษรแทนตัวเลขนะ 

A+B = อะไร

แพรตอบทันทีเลยว่า เท่ากับ B+A

ผมตะโกนเสียงดังจนน้องแพรตกใจว่า “ดีมากลูก”

ตอนนี้น้องแพรก็รู้เองใช้ไหมว่า การบวก มันสลับหน้าหลังได้

อันนี้ คือ “เกร็ดความจริง”

ที่ตอนเรียนคณิตศาสตร์ เราถูกสอนให้จำเลย ไม่เคยได้ถูกสอนให้คิดเป็นขั้นตอนตามนี้

ซึ่งตรงนี้ เมื่อน้องแพรโตขึ้น เจอ คูณ เค้าก็จะคิดได้เองว่า มันก็สลับหน้าหลังได้ ให้ผลไม่ต่างกัน หรือกระทั่ง เซต(Set) ตรรกศาสตร์ และอื่นๆ

นี่คือ คณิตศาสตร์ที่ผมได้เรียนกับอาจารย์สกนธ์ครับ

สิ่งเหล่านี้ผมนำมาใช้กับการเรียนการสอนด้านประสาทวิทยาตลอด เมื่อมีอาการอะไรของคนไข้ เราต่อยอดความจริงอะไรออกมาได้ นั่นเอง

ผมก็เอาหลักการสอนให้คิดแบบนี้มาสอนนิสิตจิตวิทยาปี 3 เช่น เมื่อเค้าเรียนเรื่อง อัลไซเมอร์(AD) เค้าได้ความรู้ตั้งต้นว่า อายุที่มากขึ้น(Aging) เป็นปัจจัยเสี่ยงอันหนึ่งที่ทำให้ป่วยเป็น AD

และ อายุที่มากขึ้น(Aging) ก็เป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้ป่วยเป็น พาร์กินสัน(PD) เช่นกัน

ผมก็จะหยุด แล้วถามพวกเค้าว่า เค้าคิดอะไรต่อได้จากสิ่งที่รู้ไป

อายุที่มากขึ้น(Aging) ก็เป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้ป่วยเป็น AD

และ อายุที่มากขึ้น(Aging) ก็เป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้ป่วยเป็น PD
.
.
.
จากนิสิตกว่า 50 คน

หลายคนตอบว่า “Aging เป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดทั้ง AD และ PD”

ผมบอกว่า แล้วไงต่อ(So keep going on)

มี 1 คนตอบขึ้นมา(หลังจากที่ผมบอกว่า ให้คิดแบบเด็กๆ เป็นธรรมชาติ)

น้องคนนั้นตอบว่า งั้น “คนที่ป่วยเป็น AD ก็อาจป่วยเป็น PD ได้เช่นกัน”

ครับ นี่คือ เกร็ดความจริง ที่หมอเราบอกให้จำกันเลย แต่เราสามารถสอนแบบให้คิดเองก็ได้ และต่อยอดความคิดตรงนี้ ก็มีคนไปตรวจสมองคนที่ป่วยด้วย อัลไซเมอร์(AD) เมื่อเสียชีวิตแล้ว ก็พบพยาธิสภาพแบบคนที่เป็น พาร์กินสัน(PD) ในระดับที่สูงมากราว 30 เปอร์เซนต์

เมื่อเราสอนเป็น เด็กๆ ก็คิดเป็นได้

#ยุคนี้เราต้องสอนให้เด็กคิดในสิ่งที่Googlingไม่เจอ

อยากให้เมืองไทยมีคนสอนแบบนี้เยอะๆจัง

ขอให้อาจารย์ไปสู่สุขคติ และต้องขอขอบพระคุณคุณครูทุกท่านที่มุ่งมั่นสอนเด็กแนวทางธรรมชาติทุกโรงเรียน โดยเฉพาะที่ จิตตเมตต์ ครับ
.
เด็กบูรณาการ อาจจะเริ่มการเรียนในระบบช้ากว่า แต่พ่อแม่ต้องอดทน และหาทางในการสอนเค้าให้เค้าได้คิด แบบเป็นธรรมชาติ เค้าจะทำได้ดีกว่าที่เราคาดคิดครับ
คิดปรับมุม BrainChef
DoctorT Neuro
ดอกเตอร์ทีนิวโร

ใส่ความเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s