“Social medias ทำอะไรกับสมองของลูกคุณ”…
ในยุคของเด็กรุ่นใหม่ที่โตมากับมือถือที่เชื่อมโยงผู้คนทั่วโลกเข้าหากัน ด้วยแพลตฟอร์มของโซเชี่ยลมีเดียต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น Facebook Youtube Instagram Twitter เราคงไม่สามารถที่จะไปห้ามไม่ให้เด็กๆใช้งานสื่อโซเชี่ยลมีเดียเหล่านี้ได้อย่างแน่นอน แล้วเราเคยได้รู้ถึงผลกระทบที่สื่อสังคมออนไลน์ได้มีต่อสมอง และพฤติกรรมของลูกน้อยบ้างหรือไม่???
มีการศึกษาล่าสุดจาก NORC Center ที่มหาวิทยาลัยชิคาโก สหรัฐอเมริกา พบว่า 76% ของเด็กอายุ 13-17 ปี ใช้ Instagram 66% ใช้ Facebook 47% ใช้ Twitter
https://www.sciencedaily.com/releases/2017/04/170421113306.htm
ผลทางด้านอารมณ์ที่เกิดขึ้น???
มีการศึกษาทางด้านอารมณ์ที่เป็นผลกระทบจากการใช้งาน Facebook ตีพิมพ์ในปี 2013 โดย University of Michigan รายงานว่า “ยิ่งใช้เวลากับ Facebook มากเท่าไหร่ ความพีงพอใจต่อชีวิตก็ลดน้อยลงตามไปเท่านั้น”
“The more time participants spent on Facebook, the more their life satisfaction levels declined”
แต่ในการศีกษาได้บอกไว้ว่า ผลกระทบนี้ไม่ได้ส่งไปถึงการมีปฏิสัมพันธ์ในชีวิตจริง(Real life)
ที่มา Kross E, Verduyn P, Demiralp E, Park J, Lee DS, et al. (2013) Facebook Use Predicts Declines in Subjective Well-Being in Young Adults. PLoS ONE 8(8): e69841. doi:10.1371/journal.pone.0069841
แล้วผลกระทบกับสมองล่ะ???
มีการศึกษาโดยใช้เครื่องสแกนสมอง fMRI วิจัยถึงผลกระทบจากการใช้สื่อสังคมออนไลน์ที่มีผลต่อสมองของวัยรุ่น โดย UCLA’s Ahmanson–Lovelace Brain Mapping Center ตีพิมพ์ในวารสาร journal Psychological Science ปี 2016 พบว่า
“When the teens saw their own photos with a large number of likes, we saw activity across a wide variety of regions in the brain”
เมื่อวัยรุ่นมองภาพของตัวเองที่มียอดไลค์ที่สูง จะมีการทำงานของสมองที่เพิ่มขึ้นเป็นอย่างมากในหลายส่วนของสมอง
“A region that was especially active is a part of the striatum called the nucleus accumbens, which is part of the brain’s reward circuitry”
ซึ่งสมองส่วนที่มีการเพิ่มการทำงานเป็นอย่างมากนั้นมีชื่อว่า nucleus accumbens ซึ่งเป็นสมองส่วนการรับรางวัล(Reward system) และสมองส่วนนี้กำลังเติบโต และอ่อนไหว(Sensitive) เป็นอย่างมากในช่วงวัยรุ่น
“For all three types of photographs — neutral, risky and even their own — the teens were more likely to click like if more people had liked them than if fewer people liked them,”
เมื่อให้วัยรุ่นดูรูปสามชนิด กลาง เสี่ยง และรูปตัวเอง วัยรุ่นมีแนวโน้มที่จะกดไลค์ในรูปที่มีคนกดไลค์เป็นจำนวนมาก(ให้ความสำคัญกับจำนวนไลค์มากกว่าชนิดของรูป)
นั่นคือสิ่งที่เรียกว่า การทำตามคนส่วนใหญ่(Conformity effect)
“When teenagers looked at risky photos compared with neutral photos, they had less activation in areas associated with “cognitive control” and “response inhibition,” including the brain’s dorsal anterior cingulate cortex, bilateral prefrontal cortices and lateral parietal cortices”
เมื่อวัยรุ่นมองที่รูปที่สุ่มเสี่ยงต่อความปลอดภัย เทียบกับรูปธรรมดา พวกเค้ามีการทำงานของสมองส่วนที่เกี่ยวกับการยับยั้งชั่งใจ(cognitive control and response inhibition) น้อยลงอย่างชัดเจน
หมายความว่าอะไร
จากการศีกษานี้ยืนยันได้อย่างชัดเจน ด้วยเครื่องมือสแกนสมองสมัยใหม่ที่เรียกว่า fMRI ว่า
“เด็กวัยรุ่นซึ่งสมองส่วนอารมณ์ และการตอบสนองต่อการได้รางวัล เช่น ยอดไลค์ จะไวเป็นพิเศษ เมื่อถูกกระตุ้นด้วยยอดไลค์ที่เป็นจำนวนมาก สมองส่วนนี้(nucleus accumbens) จะไปตัดการทำงานของสมองส่วนการคิดอย่างเป็นตรรกะ เหตุผล รวมถึงการยับยั้งชั่งใจ(Prefrontal cortex) ทำให้วัยรุ่นเลือกที่จะทำตามสังคมส่วนใหญ่ โดยให้ความสำคัญกับความถูกต้อง เหมาะสม ปลอดภัย หรือไม่ น้อยลงอย่างชัดเจน”