“ในยุคนี้ที่จะหาอะไรก็ Googling ได้หมด คนที่จะอยู่รอดไม่ใช่คนที่รู้ทุกอย่าง เพราะในแต่ละวินาทีก็จะมีข้อมูลใหม่ทะลักเข้ามา ความรู้ที่เรามีก็จะกลายเป็นความรู้ทีล้าสมัย(Outdated) ได้ในทันที”

จากครั้งที่แล้ว เราได้ทราบกันไปแล้วนะครับว่า Social medias ได้โหมกระหน่ำข้อมูลปริมาณมหาศาลใส่ลูกของเรา และเนื่องจากสมองของเด็ก และวัยรุ่นส่วนที่เกี่ยวกับความรู้สึกสุขเมื่อได้รับรางวัล และการชมเชย ที่มีชื่อเรียกว่า Reward circuit กำลังเติบโต ทำให้วัยรุ่นมีความไวต่อสิ่งเร้าที่ทำให้รู้สึกมีความสุขมากเป็นพิเศษ เช่น ยอดไลค์ที่สูง เป็นต้น
จากตรงนี้ส่งผลให้เด็ก และวัยรุ่นตัดสินใจทำตามอารมณ์ และความเชื่อเป็นหลัก โดยใช้สมองส่วนที่ทำงานเร็ว(Fast system) มากกว่าการใช้สมองส่วนตรรกะ และเหตุผลที่ทำงานได้ช้ากว่า(Slow system) และนานๆเข้า สมองส่วนนี้ที่ทำงานเร็ว แต่ไม่รอบคอบ ก็จะค่อยๆเข้าครอบงำ(Hijack) สมองส่วนเหตุผล และตรรกะ ซึ่งเราคงไม่อยากที่จะให้ลูกหลานของเราเติบโตขึ้นไปในสภาพแบบนี้แน่นอนใช่ไหมครับ
เพราะ “ในยุคนี้ที่จะหาอะไรก็ Googling ได้หมด คนที่จะอยู่รอดไม่ใช่คนที่รู้ทุกอย่าง เพราะในแต่ละวินาทีก็จะมีข้อมูลใหม่ทะลักเข้ามา ความรู้ที่เรามีก็จะกลายเป็นความรู้ทีล้าสมัย(Outdated) ได้ในทันที”
แต่ “เด็กยุคใหม่ต้อง คิดวิเคราะห์ แยกแยะ และต่อยอดจากองค์ความรู้ที่หาได้จาก Googling เพื่อสร้าง(Create) นวัตกรรม(Innovation) ขึ้นมาเองให้ได้ต่างหาก เค้าถึงจะอยู่รอดอย่างผู้นำชัยชนะ”

finger-769300_1920

แล้วทางออกล่ะคืออะไร 

ทางออก ก็ต้องย้อนกลับไปที่หลักการพื้นฐานของสมอง ก็คือเรื่อง Neuroplasticity : สมองเรา ยิ่งใช้มาก ก็จะยิ่งเชื่อมโยงเข้าหากันมากขึ้น ก็จะเก่งในการทำเรื่องนั้นๆมากยิ่งขึ้น และเรื่องอะไรที่เราทำมันน้อยลง สมองก็จะทำในเรื่องเหล่านั้นได้ยากขึ้น
นั้นคือ สมองมีการเชื่อมโยงกันใหม่(Rewiring) อยู่ตลอดเวลา

3 หลักการเชื่อมโยงสมองใหม่ให้ชนะ Googling

1. สร้างกระบวนการกระตุกการทำงานของสมองส่วนหน้า(Prefrontal cortex) เพื่อสร้างการเชื่อมโยงใหม่ๆ(Rewiring) ของสมองส่วนที่คิดอย่างมีหลักการ และเหตุผล(Slow system) เพื่อการทำงานที่มีประสิทธิภาพ และรวดเร็วมากขึ้น

concept-1868728_1920

         สมองของมนุษย์เรามีขนาดเพียงประมาณ 2 เปอร์เซนต์เมื่อเทียบกับร่างกาย แต่ใช้ออกซิเจนถึงราว 25 เปอร์เซนต์ของที่ร่างกายใช้ และยิ่งสมองส่วนหน้า(Prefrontal cortex) ยิ่งใช้พลังงานในการทำงานมากกว่าสมองส่วนอื่นๆ นั่นคือเหตุผลว่า ทำไมเวลาเราคิดเรื่องที่เป็นหลักการ และเหตุผล เราถึงรู้สึกหิวเป็นพิเศษ ดังนั้น โดยปกติ เราจะไม่ค่อยอยากจะใช้สมองส่วนนี้กันเท่าไหร่ ทำให้เกิดสภาวะที่เรียกว่า “รีบเชื่อ รีบแชร์ รีบเมนท์” 
เคล็ดลับในการกระตุกดึงให้สมองส่วนหน้ากลับมาทำงานท่ามกลางข้อมูลบนโลกออนไลน์อันมหาศาลก็คือ เราต้องฝึกให้ลูกหลานของเราถาม คำถามกระตุกสมองส่วนหน้า(Prefrontal Triggering Questions)
ด้วยการถามทุกครั้งที่เจอเนื้อหาต่างๆว่า “ข้อมูลนั้นเป็น ความเชื่อ(Relevant beliefs) ความรู้สึก(Appearance) หรือ ความจริง(Reality)”
เช่น เมื่อได้รับการสอนกันต่อๆมาว่า ถ้าอยากจะเปลี่ยนนิสัยที่เราทำมาประจำตลอด ให้เป็นนิสัยใหม่ๆ เราต้องใช้เวลาทำเรื่องใหม่ๆกันต่อเนื่องอย่างน้อยเป็นเวลา 21 วัน!!!
คนส่วนใหญ่ เลือกที่จะเชื่อในทันที(สมองส่วนเร็ว Fast system แย่งการทำงานในทันที) แต่ถ้าเราฝึกลูกหลานเราใหม่ ด้วยการตั้งคำถามว่า อันนั้นที่ได้ยินมา เป็น “ความเชื่อ ความรู้สึก หรือ ความจริง”
Thinking, Fast and Slow ของ Daniel Kahneman ผู้ได้รับรางวัลโนเบลปี 2002 สาขา Economic Science

ในสมองของพวกเค้า ก็จะตอบว่า อืม …. และสุดท้าย เค้าก็จะรู้เองว่า จริงๆ แล้ว เรายังไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์อะไรเลยว่า 21 วัน คือคำตอบที่จริง(ข้อแท้จริง มีนักจิตวิทยาศึกษาเรื่องนี้แล้ว พบว่า การจะทำอะไรใหม่ๆให้เป็นนิสัยต้องทำต่อเนื่องมากกว่า 21 วัน ตรงนี้จะไว้เล่าในครั้งต่อๆไปนะครับ)
เมื่อเค้าหัดที่จะตั้งคำถามกระตุกการทำงานของสมองส่วนหน้าบ่อยๆเข้า เค้าก็จะเริ่มไม่แน่ใจกับทุกสิ่งที่ได้รับเข้ามา ต้องทำการค้นหา และเชื่อมโยง(Connect) เหตุผลที่แท้จริง เพื่อให้ได้มาซึ่งคำตอบว่า สุดท้ายแล้วอะไรคือ ความจริง แม้ในบางเรื่องที่ยังหาคำตอบไม่ได้ วิธีการนี้ ก็จะช่วยให้เค้าไม่รีบเชื่อ รีบแชร์ รีบเมนท์ในทันที ในสิ่งที่เค้ายังไม่แน่ใจ
วิธีการนี้ก็คือ การฝึกให้คิดอย่างวิทยาศาสตร์นั่นเอง 
ซึ่งในยุคนี้ ลูกหลานเรากลับทำตรงกันข้าม คือ “รีบเชื่อ รีบแชร์ รีบเมนท์” เพราะกลัวตกกระแส(FOMO – Fear Of Missing Out)
วิธีการนี้ยากไหมครับ … ไม่เลย แค่เรามองข้ามมันไป และเราไม่รู้ว่า มันสำคัญอย่างไร เท่านั้นเอง 
แล้วเราใช้คำถามอื่นได้ไหม???
คำตอบคือ คำถามอะไรก็ได้ ที่ถามในเชิง “Why What When”
เพราะสมองเรามีหลายส่วน และแต่ละส่วนก็จะถูกเรียกการทำงานได้ก็ต่อเมื่อได้รับสิ่งกระตุ้นเฉพาะอย่างเท่านั้น 
เช่น สมองส่วนอารมณ์สุข(Reward circuit) เมื่อได้ข้อมูลที่เป็นคำถามเชิงเหตุ และผล สมองส่วนนี้จะไม่ทำงาน แต่เมื่อไรที่ได้รับข้อมูลที่เป็นเชิงอารมณ์ เช่น คำชม ยอดไลค์ที่สูง สมองส่วนนี้จะตื่นขึ้นมาทำงานทันที และเมื่อได้รับข้อมูลประเภทนี้บ่อยๆเข้า สมองของเด็กคนนั้น ก็จะเริ่ม “เสพติด กับยอดไลค์” ในที่สุด
กลับกัน สมองส่วนหน้าที่เกี่ยวกับ หลักการ และเหตุผล ก็จะไม่ถูกกระตุ้นให้ทำงานเมื่อได้รับข้อมูลเชิงความเชื่อ และอารมณ์ที่ดาษดื่นอยู่เต็มโลกโซเชี่ยลในปัจจุบัน
เราจึงต้องใช้ตัวกระตุ้นเฉพาะสำหรับสมองส่วนหน้าเท่านั้น ที่จะปลุกให้เค้าตื่นขึ้นมาทำงานได้ ก็คือ คำถามเชิง “Why What When” อย่างเช่นคำถามง่ายๆที่ว่า
ข้อมูลนั้นเป็น “ความเชื่อ(Relevant beliefs) ความรู้สึก(Appearance) หรือ ความจริง(Reality) กันนะ”

2. สร้างกระบวนการค้นหาความคิดสร้างสรรค์ใหม่ๆ(Innovative Creativity) อยู่ตลอดเวลา เพื่อการพัฒนาตัวตนให้ดียิ่งขึ้น

ในยุคอนาคตที่กำลังมาถึง เด็กยุคหน้านี้ต้องสามารถจะทำในสิ่งที่ Googling ไม่เจอ นั่นก็คือ นวัตกรรมที่สร้างสรรค์อย่างต่อเนื่อง(Sustainable creative innovations) !!!
ซึ่งถ้าสิ่งใดที่ เรา Googling เจอ แสดงว่า ไม่ใช่สิ่งใหม่ อีกต่อไปแล้ว ดังนั้น 
แล้วเราจะทำอย่างไรให้ลูกหลานของเรามี “ทักษะ ” นี้ได้
“ทักษะ” ครับผมใช้คำว่าทักษะ หมายความว่า มันถูกฝึกฝนได้
ซึ่งกระบวนการฝึกฝน “ทักษะการคิดสร้างสรรค์” นั้น มีเนื้อหาอีกมากมาย เบื้องต้นขอให้ย้อนกลับไปอ่านบทความเดิมที่เคยเขียนให้อ่านไว้ก่อนนะครับ
4 ขั้นตอน ดักจับความคิดสร้างสรรค์ ด้วยหลักการทางประสาทวิทยาศาสตร์(Neuroscience)

3. สร้างกระบวนการในการเสริมสร้างสติ(Mindfulness) ให้เกิดขึ้น

มีการศึกษาโดย Microsoft เมื่อไม่กี่ปีก่อนพบว่า สมาธิ(Attention span) ของคนอเมริกันลดลงจาก 12 วินาทีในปี 2000 ลงเหลือแค่ 8 วินาทีเท่านั้น(น้อยกว่าปลาทองที่มีสมาธิอยู่ที่ 9 วินาที!!!)
The Myth of the 8-Second Attention Span
ดังจะเห็นได้จากตัวอย่างต่างๆเช่น ทำไม Twitter ถึงให้คนทวีตกันแค่ 140 ตัวอักษรในระยะแรก เพราะคนเราไม่สามารถที่จะมีสมาธิทนอ่านตัวหนังสือได้นานกว่านี้
หรือ โฆษณายุคใหม่ๆ ทำไมต้องจับความสนใจของผู้ดูให้ได้ภายในเวลาไม่เกิน 5 วินาที(Youtube 5 Second Video)
สิ่งเหล่านี้สะท้อนให้เห็นถึงสมาธิที่ลดลงเป็นอย่างมากในเด็กยุคใหม่ ดังนั้น การที่เราจะฝึกให้เด็กยุคใหม่สามารถที่จะทำตามข้อที่ 1 และ 2 ได้ นั้น พวกเค้าต้องมีรากฐานที่สำคัญก็คือ สมาธิจรดจ่อ ได้เป็นระยะเวลาที่นานเพียงพอ
วิธีการที่ดีที่สุด ที่มีการพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์มากแล้วที่จะช่วยเพิ่มสมาธิได้ก็คือ การฝึกสติ(Mindfulness practice)

meditate-1851165_1920.jpg

ซึ่งวิธีการฝึกมีมากมายหลายวิธี แต่หลักการพื้นฐานก็คือ รู้เท่าทันทุกการกระทำของตนเอง 
ทุกคนสามารถที่จะฝึกสติได้ง่ายๆ เพียงคอยรู้ถึงลมหายใจ และการกระทำของตนเอง
เช่นกันครับ รายละเอียดของการฝึกมีมากพอควร ผมจะไม่ขอลงรายละเอียดไว้ในบทความนี้นะครับ

จะเห็นได้ว่า การที่เด็กยุคนี้ จะอยู่รอดอย่างผู้นำได้ในอนาคต ความรู้ไม่เพียงพอ แต่ความคิดต้องดีพอ ดังคำกล่าวของ ท่าน รศ.ดร. นิธิศ ทับสุขุม ที่ว่า

“ความรู้จะไม่ออกฤทธิ์ ถ้าความคิดยังไม่มี”

ขอย้ำนะครับว่า เด็กยุคหน้า จะต้องคิดเป็น แยกแยะ วิเคราะห์ได้ว่า ข้อมูลที่เค้าได้รับนั้นเป็น 

“ความเชื่อ(Relevant beliefs) ความรู้สึก(Appearance) หรือ ความจริง(Reality) กันนะ”

การแค่ท่องได้มากกว่า ไม่ได้ช่วยอะไรเค้าเลย และซ้ำร้าย ถ้าเด็กคนไหนท่องเก่ง แต่ไม่เคย หยุดคิดอย่างเป็นระบบ สุดท้าย เค้าก็จะคุ้นชินกับการท่องจำ จนหยุดคิดไม่เป็น ไปจนตลอดชีวิตของเค้า
เราคงไม่อยากได้ “สารานุกรมที่เคลื่อนที่ได้ และมีลมหายใจ” อยู่ในบ้านใช่ไหมครับ
และขอย้ำอีกครั้งหนึ่งว่า กระบวนการฝึกฝนให้ลูกหลานของเราสามารถที่จะคิด วิเคราะห์ และแยกแยะ ข้อมูลอันมหาศาล(Big data) ว่า อันไหน คือ 
“ความเชื่อ(Relevant beliefs) ความรู้สึก(Appearance) หรือ ความจริง(Reality)
นั้น มันเป็นทักษะ(Skill) ดังนั้น เราฝึกฝน ให้เกิดขึ้นกับพวกเค้าได้อย่างแน่นอนครับ
ขึ้นอยู่กับว่า ผู้ใหญ่อย่างเรา กล้าพอที่จะยืนอยู่บนหลักการที่พิสูจน์ได้ทางวิทยาศาสตร์หรือไม่ครับ
สุดท้าย มีบทความหนึ่งที่ดีมาก เป็นบทสัมภาษณ์คนไทยคนแรกที่ได้รับเกียรติลงใน นิตยสาร Forbes USA เนื่องในโอกาสครบรอบ 100 ปีของ Forbes
เป็นบทสัมภาษณ์เกี่ยวกับ หลักการคิด และฝึกให้เราเกิด นวัตกรรมใหม่ได้ตลอดเวลาอย่างไร
โดยท่าน รศ.ดร. นิธิศ ทับสุขุม
The Author Of NeuroPreneur Discusses His Research Into Successful Traits Of Entrepreneurs
คิดปรับมุม BrainChef
DoctorT Neuro
ดอกเตอร์ทีนิวโร

 

 

 

 

 

ใส่ความเห็น