อารมณ์โกรธ(Anger) เป็นสิ่งที่ทุกคนเจอ และเจอกันวันละหลายๆรอบ
มีศาสตร์ และหลักการทางจิตวิทยามากมายที่สอนถึงวิธีระงับอารมณ์โกรธเมื่อเกิดขึ้นมาแล้ว
หลายวิธีได้ผล หลายวิธีล้มเหลว
มันจะมีวิธีอะไรที่ใช้ได้ผลกับคนส่วนใหญ่ และใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ที่สำคัญ ยืนอยู่บนพื้นฐานของการแพทย์ด้านประสาทวิทยาศาสตร์(Neuroscience) บ้างหรือไม่
เพราะอารมณ์(Emotion) เป็นสิ่งที่เราจับต้องไม่ได้ แต่สัมผัสรับรู้ถึงมันได้ และมันมีแหล่งที่อยู่ที่ชัดเจนในสมองหรือไม่ เพราะถ้ามีจริง ก็เท่ากับว่า เราสามารถที่จะฝึกสมอง(Brain training) ให้ควบคุมอารมณ์ให้อยู่มือได้มากยิ่งขึ้นนั่นเอง
ลองจินตนาการดูนะครับว่า ถ้าอยู่ๆ หัวหน้าที่ที่ทำงาน มายืนตำหนิคุณต่อหน้าเพื่อนร่วมงานจำนวนมาก โดยที่แน่ชัดว่า เป็นการเข้าใจผิดอย่างแน่นอน คุณได้พยายามอธิบายแล้ว แต่หัวหน้าคุณก็ยังไม่ฟัง คุณเริ่มเกิดอาการร้อนภายในใจ … เราจะจัดการกับสถานการณ์แบบนี้ ณ ตอนนี้อย่างไรดี
กดอารมณ์โกรธเอาไว้(Anger suppression)???
ผมอยากจะบอกว่า วิธีนี้เป็นความคิดที่ไม่เข้าท่าเอาเลย
หลายคนอาจจะทำแบบนี้ ยิ้มรับ แต่ภายในหัวใจกลับรู้สึกได้ถึงอะดรีนาลีนที่หลั่งทั่วร่างกาย หัวใจเต้นแรง ภายนอกอาจจะดูสงบ แต่ภายในนั้น อารมณ์โกรธค่อยๆเพิ่มมากขึ้น ยิ่งคุณกดมันไว้เท่าไหร่ อารมณ์โกรธก็จะยิ่งยืดขยายตัวมันเองมากขึ้นไปเท่านั้น
เปรียบเสมือนน้ำเดือดในหม้อที่ปิดทางระบายทุกทาง ไอน้ำเดือดหาทางออกของมัน แต่คุณกลับเอามือไปกดฝาที่ปิดเอาไว้ น้ำยิ่งเดือด คุณก็ยิ่งออกแรงกดฝาหม้อเอาไว้มากยิ่งขึ้น สุดท้าย หม้ออาจจะระเบิดได้
เช่นเดียวกัน เมื่อเรากดอารมณ์โกรธไว้มากๆเข้า อารมณ์โกรธจะพองตัวขึ้นอย่างมากมาย และเริ่มออกฤทธิ์กัดกร่อนสุขภาพใจของตัวคุณเอง และวันนึงจะกลับมาทำลายความสัมพันธ์กับคนรอบข้างตัวคุณได้ในที่สุด
…experimental studies have shown that suppression leads to decreased positive but not negative emotion experience
(Gross, 1998a; Gross & Levenson, 1993, 1997; Stepper & Strack, 1993; Strack, Martin, & Stepper, 1988),
มีการศึกษาทดลองพบว่า ยิ่งเราพยายามกดอารมณ์โกรธ กลัว(Negative emotion) เอาไว้เท่าไหร่ เรากลับนึกถึงอารมณ์สบาย(Positive emotion) ได้น้อยลงเท่านั้น ในขณะที่อารมณ์ลบเหล่านั้น กลับไม่ได้ลดลงเลย!!!
…increased sympathetic nervous system responses (Demaree et al., 2006; Gross, 1998a; Gross & Levenson, 1993, 1997; Harris, 2001; Richards & Gross, 2000),
…and greater activation in emotion-generative brain regions such as the amygdala (Goldin, McRae, Ramel, & Gross, 2008)
และกลับพบว่า มีการเพิ่มขึ้นของระบบประสาทอัตโนมัติซิมพาเธติก เช่น หัวใจเต้นเร็วขึ้น ความดันโลหิตพุ่งสูงขึ้น รวมไปถึง มีการทำงานของสมองส่วนที่เกี่ยวข้องกับอารมณ์โกรธ(Amygdala) เพิ่มมากยิ่งขึ้นไปอีก
ระบายอารมณ์โกรธออกไปเลยซิ(Vent your anger)???
ผมก็อยากจะบอกว่า อันนี้ยิ่งเป็นความคิดที่แย่ไปกว่าความคิดก่อนหน้านี้เสียอีก
…focusing on a negative emotion will likely intensify the experience of that emotion further and thus make down-regulation more difficult, leading to lower adjustment and well-being.
ยิ่งคุณให้ความสนใจ หรือตอบสนองต่ออารมณ์โกรธ มันก็จะได้ใจที่จะยืดขยายตัวมันเองให้โตมากยิ่งขึ้น
เบี่ยงเบนความสนใจ(Distraction)
สมองของมนุษย์เรามีขีดจำกัดในการทำงานในช่วงเวลาหนึ่งๆ
เช่น เราจะมีความยากลำบากเป็นอย่างมากในการฟังคนสองคนพูดพร้อมๆกัน
…Research suggests it is because both cognitive tasks and emotional responses make use of the same limited mental resources (Baddeley, 2007; Siemer, 2005; Van Dillen & Koole, 2007)
… That is, the resources that are used to perform a cognitive task are no longer available for emotional processes.
…Accordingly, people can rid themselves from unwanted feelings by engaging in a cognitive activity, such as doing math equations (Van Dillen & Koole, 2007), playing a game of Tetris ( Holmes, James, Coode-Bate, & Deeprose , 2008)
มีการศึกษาพบว่า สมองส่วนที่เกี่ยวกับการวางแผน ตัดสินใจ(Cognitive task) ใช้ทรัพยากรร่วมกันกับสมองส่วนอารมณ์(Emotional response) ดังนั้น มนุษย์เราไม่สามารถที่จะทำงาน 2 อย่างนี้ไปพร้อมๆกันได้ เช่น เราไม่สามารถที่จะคิดเรื่องราวที่เป็นเหตุผลซับซ้อนได้ เมื่อเรากำลังโกรธ และกลับกัน เมื่อเรากำลังใช้เหตุผล และความคิดที่เป็นตรรกะอย่างสูง เราจะไม่สามารถที่จะโกรธใครได้อย่างง่ายๆ
แต่แน่นอนครับ ขณะที่กำลังมีคนยืนด่าคุณต่อหน้าคนมากมาย การที่เราจะเบี่ยงเบนความสนใจของความคิดเราไปในเรื่องอื่นๆนั้น คงเป็นไปได้ยากมากๆ แล้วเราจะทำอย่างไรดีล่ะครับ
คำตอบก็คือ การทบทวนเรื่องราวใหม่(Reappraisal)
กลับไปที่สถานการณ์คับขันทางอารมณ์ที่กำลังเกิดขึ้น หัวหน้ายืนด่าคุณอย่างไร้เหตุผล คุณเองก็กำลังเดือดภายในอย่างสุดๆ พร้อมที่จะตะโกนกลับไปที่หัวหน้าของคุณได้ในทันที
แต่อยู่ๆ เพื่อนร่วมงานคนสนิทของคุณก็มากระซิบข้างหูคุณว่า “เมื่อเช้าหัวหน้าเพิ่งถูกฟ้องหย่า และลูกๆก็ถูกศาลสั่งคุ้มครองให้อยู่กับทางภรรยาของหัวหน้าอย่างไม่มีกำหนด”
ถึงตอนนี้ คุณก็คงจะหายหัวร้อนในทันที เผลอๆ คุณอาจจะกลับนึกสงสารหัวหน้าของคุณเสียอีกว่า ชีวิตช่างหน้าสงสาร ทำเอาคนดีๆ เสียสติไปได้
ทั้งหมดนี้ไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงของเหตุการณ์แย่ๆอะไรเลย หัวหน้าคุณก็ยืนด่าคุณเหมือนกับสถานการณ์ก่อนหน้านี้ เพียงแต่ สิ่งที่สมองของคุณได้รับรู้มันเปลี่ยนไป
…As famed researcher Albert Ellis said: You don’t get frustrated because of events, you get frustrated because of your beliefs.
คุณดึง(Grab) การทำงานจากเดิมที่ปล่อยให้สมองส่วนอารมณ์(Amygdala) ค่อยๆทำงานเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ครั้งนี้คุณรู้ว่า สมองส่วนอารมณ์ ไม่สามารถทำงานพร้อมไปกับสมองส่วนเหตุผลได้
แค่คุณจินตนาการลงไปว่า อืม เพราะสิ่งที่หัวหน้าคุณเจอเมื่อเช้านี้มันรุนแรงมากนะ เป็นใครเจอแบบนี้ก็คงหัวร้อนได้เช่นกัน เมื่อคุณใส่ข้อมูล(Stimuli) เข้าไปเร้าสมองส่วนหน้า(Prefrontal cortex) ที่เป็นเรื่องของเหตุ และผล สมองส่วนนี้ก็จะตื่นขึ้นมาทำงาน และไปแย่งเลือดที่กำลังเริ่มไปเลี้ยงสมองส่วนอารมณ์เพิ่มขึ้น ให้ค่อยๆลดลง และย้อนกลับมาเลี้ยงสมองส่วนหน้าแทน
เมื่อสมองส่วนอารมณ์ค่อยๆขาดเลือดมาเลี้ยง สมองส่วนนี้ก็จะลดการทำงานของตัวมันเองลงอย่างอัตโนมัติ เพราะนี่คือระบบป้องกันตัวเอง(Safety system) ของสมองของเรา
ผมเรียกวิธีการแย่งการทำงานของสมองไปมานี้ว่า Hijack of brain functions
…Research shows that when someone is exploding at you a good way to “reappraise” the situation and resist getting angry is simply to think:
“It’s not about me. They must be having a bad day.”
การ Reappraisal สถานการณ์ด้วยวิธีคิดง่ายๆว่า
“จริงๆแล้ว มันไม่ได้เกี่ยวกับฉันหรอก แค่เค้าคงมีวันแย่ๆของเค้าเท่านั้นเอง”
…In one of Ochsner’s reappraisal experiments, participants are shown a photo of people crying outside a church, which naturally makes participants feel sad. They are then asked to imagine the scene is a wedding, that people are crying tears of joy.
…At the moment that participants change their appraisal of the event, their emotional response changes, and Ochsner is there to capture what is going on in their brain using an fMRI.
…As Ochsner explains, “Our emotional responses ultimately flow out of our appraisals of the world, and if we can shift those appraisals, we shift our emotional responses.”
…Evidence that reappraisal can directly influence this amygdala circuitry comes from consistent findings in positron emission tomographic (PET) and functional magnetic resonance imaging (fMRI) studies of healthy individuals showing reappraisal-dependent decreases in amygdala activation in response to negative stimuli.
มีการศีกษาโดยเครื่องสแกนการทำงานของสมอง fMRI และ PET พบว่า
วิธีการทบทวนเรื่องราวใหม่(Reappraisal) ส่งผล ลดการทำงานของสมองส่วนอารมณ์โกรธ(Amygdala) เมื่อคนๆนั้นได้รับเรื่องราวที่เป็นลบ(Negative stimuli)
สรุป
-
การกดทับอารมณ์โกรธ(Anger Suppression) ไม่ค่อยได้ผลในระยะยาว และเกิดผลเสียตามมามากมาย
-
การระบายอารมณ์โกรธ(Anger ventilation) เกิดผลเสียตามมามากมายในทันที และในระยะยาว
-
การทบทวนเรื่องราวใหม่(Reappraisal) เป็นทางออกที่ดี และมีประสิทธิภาพมากที่สุด
คิดปรับมุม BrainChef
DoctorT Neuro
ดอกเตอร์ทีนิวโร
อ้างอิง https://www.theladders.com/career-advice/anger-neuroscience