เช้าวันจันทร์ คุณมาถึงที่ทำงานแต่เช้า ตั้งใจจะเคลียร์งานทั้งหมดที่ค้างมาจากสัปดาห์ที่แล้ว พอเปิดคอมพิวเตอร์ นั่งไล่เช็คอีเมลล์ไปได้ 20 ข้อความ แล้วเพื่อนร่วมงานก็เข้ามาชวนไปดื่มกาแฟ สุดท้าย งานที่คิดจะเคลียร์ ก็ถูกยกไปเป็นของวันพรุ่งนี้อีกครั้ง…
ภาวะดินพอกหางหมู(Procrastination) เป็นภาวะที่พบได้ราว 20% ของผู้ใหญ่วัยทำงานทั่วโลก มีบันทึกเอาไว้ตั้งแต่สมัยยุคอาณาจักรอียิปต์โบราณ ดังนั้นไม่แปลกครับว่า คุณ และผม ต่างก็เคย หรือกำลังเผชิญกับภาวะนี้อยู่เช่นกัน
ภาวะนี้เป็นเพราะขี้เกียจ ไม่มีวินัย หรือเพราะความเป็นคนสมบูรณ์แบบกันแน่(คิดบวก 555) 
ถ้าเราสามารถที่จะหาวิธีที่จะเข้าใจถึงสาเหตุที่แท้จริง น่าเชื่อถือ และพิสูจน์ได้จริง ก็คงจะดีนะ เพราะเมื่อทราบสาเหตุที่แท้จริง ก็มีความเป็นไปได้ที่จะมีวิธีการที่เป็นหลักการที่น่าจะนำไปใช้แก้ปัญหานี้สำหรับคนส่วนใหญ่ได้จริงๆ อย่างเป็นรูปธรรม
อย่างน้อยก็เป็นความโชคดีในยุคที่วิทยาศาสตร์การแพทย์มีความเจริญก้าวหน้ามาไกลพอสมควร ปัจจุบันเรามีเครื่องมือที่สามารถสแกนการทำงานของสมอง ในขณะที่เรากำลังคิด หรือ ไม่คิด อยู่ภายในใจ ว่าเกิดอะไรขึ้นภายในสมองของเรา เครื่องมือนั้นก็คือ fMRI(Functional MRI) นั่นเองครับ
FuRHBQbOmIZsqtxJijGU9zl72eJkfbmt4t8yenImKBVvK0kTmF0xjctABnaLJIm9

ประสาทวิทยาศาสตร์ของภาวะดินพอกหางหมู

The Neuroscience of Procrastination

ได้มีนักวิทยาศาสตร์ทำการสแกนสมองศึกษาถึงกลไกการทำงานภายในสมองที่เกี่ยวข้องกับภาวะดินพอกหางหมูนี้(Procrastination) ได้ผลที่น่าสนใจดังนี้ครับ
โดยธรรมชาติสมองส่วนต่างๆของเราจะเชื่อมโยง(Wired) เข้าหาซึ่งกัน และกัน เพื่อที่จะสร้างร่องรอย(Footprint) เอาไว้สำหรับการคาดคะเน(Predict) และทำงานโดยอัตโนมัติ(Automate) เพื่อเป็นการตอบสนองต่อสถานการณ์(Situation) และสิ่งเร้า(Stimuli) ที่เข้ามากระทบในแต่ละช่วงเวลาของวัน
บรรพบุรุษของเราอาศัยร่องรอย(Footprint) นี้มาโดยตลอด และใช้เป็นหลัก เพราะสิ่งแวดล้อมในอดีตการ เป็นสภาวะแวดล้อมที่อันตรายต่อชีวิต การตัดสินใจช้าเพียงเสี้ยววินาที เราอาจจะกลายเป็นเหยื่อของนักล่าอื่นๆได้ในทันที ดังนั้นสมองของมนุษย์ยุคโบราณในส่วนของสัญชาตญาณ(Instinct) และอารมณ์(Emotion or Limbic system) ก็จะถูกเรียกใช้งานอย่างเป็นอัตโนมัติ(Automatic) อย่างเป็นปกติ
แต่ในยุคปัจจุบัน สภาวะแวดล้อมได้เปลี่ยนไปมาก เราไม่มีความจำเป็นที่จะต้องรีบตัดสินใจทำอะไรในทันทีเหมือนสมัยโบราณ เพราะเราสามารถที่จะยื้อเวลาในการตัดสินใจออกไปได้ โดยส่วนใหญ่ไม่ได้ส่งผลเสียต่อเราในทันที
มนุษย์ยุคใหม่มีสมองส่วนหน้า(Prefrontal cortex) ที่เจริญเติบโตขึ้นเป็นสัดส่วนที่มากเมื่อเทียบกับสมองส่วนสัญชาตญาณ(Instinct) และอารมณ์(Emotion or Limbic system) สมองส่วนหน้า(Prefrontal cortex) ทำหน้าที่เกี่ยวกับการวางแผน(Planning) การตัดสินใจ(Decision making) ตรรกะ และเหตุผล(Reasoning) รวมไปถึงการยับยั้งชั่งใจ(Inhibition control)
เช่น เมื่อมีคนขับรถมาปาดหน้าเราอย่างกระชั้นชิด เราเกิดอารมณ์โกรธ(Anger) สมองส่วนสัญชาตญาณ(Instinct) เลือกที่จะปกป้อง และกำจัดสิ่งที่คิดว่าเป็นอันตราย(Threat) และสัญชาตญาณจะพุ่งพล่าน ออกมาควบคุมเรามากขึ้นเมื่อได้รับการเพิ่มขนาดให้มากขึ้น(Magnified) ด้วยอารมณ์ 
เช่น เหตุการณ์ที่คนปาดหน้ารถเรา สัญชาตญาณเริ่มจะทำงาน แต่ยังไม่มากนัก แต่เมื่อเรากดแตรเตือนรถคันนั้น แล้วเค้าตอบสนองด้วยการขับกลับมาอยู่ข้างหน้ารถเราอย่างกระชั้นชิดอีกครั้ง แล้วเปิดไฟฉุกเฉินใส่เรา สมองส่วนอารมณ์(Limbic system) ก็จะกลับมาทำงานมากขึ้น และทำงานเปรียบเสมือนจูนเนอร์ที่ไปเพิ่มขนาด(Magnify) การทำงานของสมองส่วนสัญชาตญาณ ให้กระทำอะไรลงไปในแบบที่เรียกว่า อารมณ์ชั่ววูบ ได้
แต่สำหรับคนที่มีการทำงานของสมองส่วนหน้าที่ดีพอ สมองส่วนนี้ก็จะเข้ามาควบคุมการทำงานของสมองส่วนอารมณ์ และสัญชาตญาณ ด้วยการยับยั้ง(Inhibit) พฤติกรรมที่ไม่ดีไม่ให้เกิดขึ้น ด้วยกลไกต่างๆ อย่างเช่น การทบทวนเรื่องราวใหม่(Reappraisal) ด้วยการคิดว่า เช้านี้เค้าอาจจะมีเรื่องไม่ดีเข้ามาเยอะ ทำให้ขับรถอย่างไม่ระวัง และควบคุมพฤติกรรมตัวเองไม่ได้ ถ้าเราปล่อยเค้าไป อย่างมากก็เสียเวลาไม่ถึงครึ่งนาที แต่ถ้าลงไปทะเลาะกัน อาจเป็นเรื่องราวลุกลามใหญ่โต ได้ไม่คุ้มเสีย
procrastination-2.jpg

แล้วมันเกี่ยวอะไรกับ ภาวะดินพอกหางหมู

How is all this related to procrastination?

ในอดีตโบราณ สมองส่วนอารมณ์(Limbic system) และสัญชาตญาณ(Instinct) ควบคุมการทำงานโดยรวมของสมองบรรพบุรุษของเรา
แต่มนุษย์ยุคใหม่ มีสมองส่วนหน้า(Prefrontal cortex) ที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับสมาธิ เหตุผล การตัดสินใจ และการยับยั้งชั่งใจที่เจริญขึ้นกว่าแต่ก่อนมาก 
และด้วยผลจากการสแกนสมองด้วยเครื่อง fMRI พบว่า ภาวะดินพอกหางหมูนั้น แท้ที่จริงก็คือ ภาวะที่สมองส่วนหน้า ไม่สามารถที่จะเข้าไปควบคุมการทำงานของสมองส่วนอารมณ์ได้ดีพอ ทำให้การตอบสนอง และการกระทำทั้งหมดเพียงพอให้เกิดอารมณ์พึงพอใจในผลตอบแทนระยะสั้น(Short-term benefit) มากกว่าการมองไปถึงผลระยะยาว(Longterm benefit)
Current neuroimaging research shows that procrastination occurs when various pre-frontal regions of the brain fail in regulating impulsivity.
Zhang W. Identifying the Neural Substrates of Procrastination: a Resting-State fMRI Study. Scientific Reports. 2016;6:33203. doi:10.1038/srep33203.
เมื่อเราได้เจาะเข้าไปในการทำงานของสมองจนค้นพบได้แล้วว่า แท้ที่จริงแล้ว ภาวะดินพอกหางหมู(Procrastination) นั้นมันมีกระบวนการทำงานที่เกิดขึ้นภายในสมองที่เป็นรูปแบบที่ชัดเจน ค่อนข้างจะตายตัว

คือ สมองส่วนหน้า(Prefrontal cortex) ขาดการควบคุมและยับยั้ง(Inhibit) สมองส่วนอารมณ์(Limbic system) ในการตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่ทำให้เกิดความพึงพอใจในระยะสั้น(Short-term gratification) นั่นเอง

เมื่อภาวะนี้มีรูปแบบการทำงานภายในสมองที่ชัดเจน จับต้องได้เป็นรูปธรรม(Objective) ไม่ใช่แค่นามธรรม(Subjective) อีกต่อไป ประกอบกับความรู้เรื่อง สมองยืดหยุ่นได้(Neuroplasticity) คือความสามารถในการปรับเปลี่ยนการทำงาน และโครงสร้างของสมองส่วนต่างๆได้ด้วยการฝึกฝน(Trainable)

เท่ากับว่า เราสามารถที่จะฝึกสมองของเราให้ควบคุมภาวะดินพอกหางหมู(Procrastination) ได้นั่นเอง

ไว้ครั้งหน้า ผมจะมาเล่าถึง วิธีการที่จะเข้าไปควบคุมสมองของเราให้ลดภาวะดินพอกหางหมู(Procrastination) ด้วยหลักการทางวิทยาศาสตร์ทางสมอง(Neuroscience) นะครับ

คิดปรับมุม BrainChef

DoctorT Neuro
ดอกเตอร์ทีนิวโร

 

ใส่ความเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s