“จากการสแกนสมองด้วยเครื่อง fMRI พบว่า ภาวะดินพอกหางหมู(Procrastination) นั้น แท้ที่จริงก็คือ ภาวะที่สมองส่วนหน้า(Prefrontal cortex) ไม่สามารถที่จะเข้าไปควบคุมการทำงานของสมองส่วนอารมณ์(Limbic system) ได้ดีพอ ทำให้การตอบสนอง และการกระทำทั้งหมดเพียงพอให้เกิดอารมณ์พึงพอใจในผลตอบแทนระยะสั้น(Short-term benefit or Gratification) มากกว่าการมองไปถึงผลระยะยาว(Longterm benefit)”
Current neuroimaging research shows that procrastination occurs when various pre-frontal regions of the brain fail in regulating impulsivity.
ticking now on check boxes
ถ้าจะเปรียบเทียบ ภาวะ Procrastination ก็คือการที่สมองส่วนอารมณ์(Limbic system) กำลังเข้าครอบงำการทำงานของสมองส่วนเหตุผล(Prefrontal cortex) ด้วยการอยากมีความรู้สึกเสพสุขจากการได้รับ ความพึงพอใจ(Gratification) ในทันที 
คล้ายกับภาวะลิงที่คอยมายั่วให้การทำงานด้วยเหตุผล และมองผลในระยะยาวไขว้เขวไปนั่นเอง
FEATURE6.png

แล้วเราจะทำอย่างไรดี

เราต้องอาศัยหลักการ และองค์ความรู้เรื่องการปล้นสมอง(Hijacking the Brain)

  1. สมองใชัพลังงานในการทำงานเยอะ แม้จะดูเป็นงานเล็กน้อย ดังนั้น พฤติกรรมทางธรรมชาติของสมองคือ ไม่ชอบทำอะไรใหม่ๆ ชอบทำอะไรที่คุ้นชิน
  2. สมองแต่ละส่วนพร้อมที่จะแย่งกันทำงานอยู่เสมอ(สมองก็อยากเด่น)
  3. สมองส่วนหน้า(Prefrontal cortex) ทำงานที่หนัก จึงทำงานได้เป็นช่วงสั้นๆ งานย่อยๆ แล้วเอามารวมกัน
  4. สมองส่วนอารมณ์(Limbic system) ชอบสิ่งเร้า(Stimuli) ที่เกี่ยวกับอารมณ์สุข มากกว่าความเจ็บปวด สมองส่วนนี้ต้องการรางวัล(Reward) อยู่เสมอ
  5. เมื่อฝึกสติ พฤติกรรมใดๆ อย่างสม่ำเสมอ จะเกิดร่องรอย(Footprint) ใหม่ขึ้นมา เปรียบเสมือนถนนใหม่ลาดยางอย่างดี แล้วสมองเราจะเลือกใช้เส้นทางนี้บ่อยขึ้นในภายหลัง

ผมขอเรียกวิธีการจัดการกับภาวะดินพอกหางหมูนี้ว่า (Hijacking the Procrastination)

84821431-stock-vector-hijacked-rubber-stamp.jpg
  1. สมองไม่ชอบทำอะไรใหม่ๆ เพราะมันยาก และใช้พลังงานเยอะในการทำเรื่องใหม่ๆ ดังนั้น การฝึกฝนทำเรื่องที่จำเป็น และสำคัญให้เป็นนิสัย(Habit) คือเคล็ดลับในการจัดการกลไกตรงนี้ แต่การทำให้เป็นนิสัยในเรื่องใหม่ๆ อาจจะฝืนสมองจนเกินไป ให้เราปรับเรื่องใหม่ๆ จากเรื่องที่เราคุ้นเคยทีละน้อย เช่น เมื่อตั้งเป้าว่า จะตื่นเช้าขึ้น 1 ชม เพื่อมาเตรียมงานในแต่ละวัน แทนที่จะตั้งเวลาปลุกเร็วขึ้น 1 ชม เลย ก็ค่อยๆปรับเวลาตื่นให้เร็วขึ้นทีละ 15 นาที แล้วค่อยๆเพิ่มจนได้เป็น 1 ชม อย่างนี้ก็จะไม่ฝืนสมองในการทำเรื่องใหม่ แต่สมองจะเรียนรู้ และเข้าใจว่า คือเรื่องเดิมๆ นั่นเอง
  2. เราต้องอย่าให้สมองส่วนอารมณ์(Limbic system) เป็นตัวเดินเกมในการสร้างภาวะดินพอกหางหมู หรือเรียกง่ายๆว่า ให้ตัดไฟแต่ต้นลม(Hijack) … สมองส่วนหน้า(Prefrontal cortex) เปรียบเสมือนเป็นนายใหญ่ของสมอง(Big boss) ที่พร้อมจะเข้ามาควบคุมสมองส่วนอารมณ์ไม่ให้หลงไหลไปกับอารมณ์พึงพอใจในระยะสั้น(Gratification) แต่สมองส่วนหน้ามีนิสัยการทำงานได้เป็นช่วงสั้นๆ(Short attentional span) แต่ละครั้งไม่เกิน 8 วินาที ดังนั้นก่อนที่สมองส่วนนี้จะหลุดจากการจรดจ่อไป เราต้องรีบให้สมองส่วนหน้าแย่งการทำงานของสมองส่วนอารมณ์โดยเร็ว เช่น เมื่อตั้งเป้าจะออกไปวิ่ง ระหว่างที่กำลังนึกว่าจะไปวิ่งดีไหม วันนี้เหนื่อยมาทั้งวัน อยากพักมากกว่า(สมองส่วนอารมณ์ กำลังอยากตอบสนองกับความพึงพอใจระยะสั้น(Gratification) ) ช่วงเวลาสำคัญนี้(ไม่เกิน 8 วินาที) เราต้องเปลี่ยนเป็นชุดวิ่งในทันที อย่าปล่อยให้นานเกินไปกว่านี้ จริงๆ ดีสุดไม่ควรเกิน 5 วินาที ถ้านานเกินกว่านี้ สมองส่วนหน้าจะหลุดจากการจรดจ่อ และสมองส่วนอารมณ์จะแย่งการทำงานในทันที 
  3. สมองส่วนหน้าทำงานหนัก ใช้พลังงานเยอะ ร่างกายเราจึงไม่ค่อยชอบเรียกใช้สมองส่วนนี้ สมองส่วนอารมณ์กินพลังงานน้อยกว่า เราจึงชอบใช้สมองส่วนนี้กัน จึงเป็นที่มาของภาวะดินพอกหางหมู เมื่อรู้อย่างนี้ เวลาตั้งเป้าหมายใหญ่ๆ ที่ต้องใช้เวลายาวในการบรรลุเป้า ส่วนใหญ่หลายคนจึงหลุดเป้าไปตั้งแต่เริ่มเดินไปได้ไม่นาน ดังนั้นเราจึงต้องแบ่งงานที่ต้องทำเพื่อให้บรรลุเป้าใหญ่นั้นออกเป็นงานย่อยๆ ที่ใช้เวลาในการบรรลุไม่นาน สมองของเราก็จะไม่รู้สึกว่า การทำงานย่อยๆนั้นมันยาก สมองส่วนหน้าก็สามารถที่จะทำงานนั้นให้สำเร็จได้ง่ายขึ้นมากกว่าการต้องทำงานชิ้นใหญ่ชิ้นเดียว เช่น เมื่อเราตั้งเป้าจะเขียนหนังสือให้ได้ 1 เล่มในปีนี้ มันจะเป็นงานที่ใหญ่มากสำหรับคนทั่วไป เราก็แบ่งออกเป็นว่า เขียน 2 บทต่อ 1 เดือน และย่อยลงไปอีกเป็น กี่หน้าต่อสัปดาห์ และกี่หน้าต่อวัน แล้วเราก็ลงมือทำตามระบบในข้อ 1 และ 2 คือ ในแต่ละวัน เมื่อรู้สึกลังเลว่าจะเขียนหรือไม่เขียน อย่ารอเกิน 5 วินาที ให้ลงมือเขียนอะไรลงไปเลย ยังไม่ต้องนึกถึงความสมบูรณ์แบบ เมื่อทำแบบนี้ทุกๆวัน สมองของเราก็จะเริ่มชิน และสามารถลงมือเขียนในแต่ละวันได้เป็นนิสัย(Habit) และเมื่อเป็นนิสัย ในสมองของเราก็จะมีร่องรอย(Footprint) ของการเขียนหนังสือเกิดขึ้นมาใหม่ และทำให้สมองใช้พลังงานลดลงในแต่ละครั้งที่ต้องเขียนนั่นเอง 
  4. ให้รางวัล(Reward) แก่สมองส่วนอารมณ์ … เพื่อจะแย่งชิงการทำงานของสมองส่วนอารมณ์ที่มองหาความพึงพอใจระยะสั้นอยู่เสมอ(Gratification) แทนที่จะปล่อยให้ความพึงพอใจนั้นคือเรื่องการไม่ทำอะไร เราสร้างความพึงพอใจที่ทำให้งานเดินหน้าได้จะดีกว่าหรือไม่ ด้วยการให้รางวัลกับความสำเร็จเมื่อเสร็จสิ้นงานย่อยๆในข้อ 3 อย่างสม่ำเสมอ เช่น เมื่อเขียนหนังสือได้ตามเป้าในแต่ละสัปดาห์ เราก็ต้องรู้จักการชื่นชมตัวเอง และอาจให้รางวัลตัวเองเป็นอาหารมื้อพิเศษสักมื้อ รวมไปถึงการหาเพื่อนร่วมรับรู้ถึงเป้าหมายที่เราตั้งไว้ และถ้าให้ดี ก็ร่วมเดินไปด้วยกัน เช่น ตั้งเป้าจะเขียนหนังสือปีละ 1 เล่มเหมือนกัน ในแต่ละสัปดาห์ที่ทำได้ตามเป้าย่อย ก็ผลัดกันชื่นชม และออกไปทานมื้อเล็กๆด้วยกันสักมื้อเป็นต้น
  5. เมื่อเราได้ทำตามข้อ 1-4 อย่างต่อเนื่อง มันจะเกิดร่องรอย(Footprint) หรือก็คือ การเชื่อมโยงระหว่างเซลล์สมองนับพันล้านเซลล์ใหม่ๆเกิดขึ้น(New synapses) เปรียบเสมือนการเขียนหนังสือสำหรับคนที่ไม่ใช่นักเขียน มันฟังดูเป็นเรื่องที่ยากมากที่จะทำได้ต่อเนื่องเป็นปี แต่เมื่อเราทำตามขั้นตอน 1-4 อย่างน้อย 66 วัน สมองจะมีร่องรอยใหม่ที่แข็งแรง คล้ายช่วงแรกที่ทางเดินนี้เป็นป่ารกชัด เมื่อเราจะขัยรถผ่านทางป่านี้ ก็จะเปลืองน้ำมันมาก และขับไปได้ช้า แต่เมื่อเราขับในทางเดิมๆนี้อย่างต่อเนื่อง ทางเส้นนี้ก็จะเรียบมากขึ้น ดินก็จะแน่นตัวมากขึ้น(Strong synapses) ซึ่งสุดท้ายจะส่งผลให้เราสามารถที่จะขับรถในเส้นทางนี้ได้ง่าย และประหยัดพลังงานได้มากขึ้นอย่างไม่น่าเชื่อเลยทีเดียว
1_1aNLDqQQpd0pQeVtVlJ25w.jpeg
จะเห็นได้ว่า แท้ที่จริงแล้ว ภาวะดินพอกหางหมู(Procrastination) นั่นก็คือ การที่สมองส่วนอารมณ์ ซึ่งเป็นสมองส่วนที่ใช้พลังงานน้อย แย่งการทำงานของส่วนส่วนเหตุผลที่อยู่ส่วนหน้า ซึ่งสมองส่วนหน้านั้นใช้พลังงานมากกว่า เราจึงไม่ค่อยชอบใช้สมองส่วนหน้ากันเท่าไหร่
วิธีแก้ เราก็ใช้ความรู้เรื่องวิทยาศาสตร์ทางสมองเข้ามาแก้ไข ด้วยการแย่ง(Hijack) การทำงานจากสมองส่วนอารมณ์ ให้กลับไปสู่การทำงานของสมองส่วนหน้า และฝึกฝนให้เป็นนิสัย จนเกิดร่องรอย(Footprint) ใหม่ในสมอง เมื่อร่องรอยใหม่นี้แข็งแรง เราก็จะสามารถทำงานนั้นๆได้อย่างง่ายดาย ใช้พลังงานน้อยลง และเราก็จะสามารถที่จะกำจัดภาวะดินพอกหางหมูได้อย่างถาวรนั่นเอง
สนใจอ่านตอนแรกได้ตามลิงค์นี้เลยนะครับ
สะกดสมอง หยุดดินพอกหางหมู ตอนที่ 1(The Neuroscience of Procrastination)
คิดปรับมุม BrainChef
DoctorT Neuro
ดอกเตอร์ทีนิวโร

ใส่ความเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s