นกที่บินสูง เพราะรู้จักขนของตัวมันเองดีกว่านกที่บินต่ำ…

คนเราก็เช่นกัน จะเป็นคนที่ดีขึ้นกว่าคนเดิมได้ ต้องมีการพัฒนา
ถ้าหยุดพัฒนา ก็จะถูกแซงอย่างแน่นอน
ไม่มีใครอยากอยู่รั้งท้าย
ดังนั้นการพัฒนาตัวเองอยู่ตลอดเวลา จึงเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้
คำถามก็คือว่า แล้วเราจะพัฒนาจุดไหนในตัวของเรา
ถึงตรงนี้หลายคนอาจจะหยิบกระดาษขึ้นมา เพื่อลองลิสต์จุดที่ “ตัวเอง” คิดว่าเป็นจุดพัฒนา
แต่ด้วยธรรมชาติของสมองมนุษย์ เราจะมีความลำเอียง หรืออคติ(Bias) ที่ทำให้เราคิดว่า

“เรารู้จักตัวเราเอง ดีกว่าที่คนอื่นๆรู้จักตัวเรา”

และเรามักจะเลือกที่จะฟังความเห็นจากคนอื่นที่สอดคล้องกับความเห็นของเรา(Confirmation bias)
ซึ่งทั้งหมดนี้ ทำให้โอกาสในการพัฒนาตัวเองของเราหายไป โดยที่เราไม่รู้ว่า เรากำลังถูกสมองส่วนใน(Inner brain) หลอกเราอยู่
tribalism-1201697_1920

ด้วยกลไกป้องกันตัวเองของสมองส่วนใน ทำให้หลายคนมีแนวโน้มที่จะแยกความแตกต่างของ หมอกจางๆ(Love critics) กับ ควัน(Hate critics) ไม่ออก

หลายคนเลยเลือกที่จะละเลย และรับฟัง คำวิจารณ์ดีๆ ไปอย่างน่าเสียดาย
หรือที่แย่ไม่แพ้กันก็คือ
หลายคนเลือกที่จะรับฟังเฉพาะกลุ่มคนที่เค้าเห็นว่าเป็นพวกเดียวกับเค้าเท่านั้น(In group bias)
lost-places-2398580_1920

เกิดอะไรขึ้นในสมองของเรา เมื่อได้รับฟังคำวิจารณ์(Critics)…

ทันทีที่หูของเราส่งสัญญาณเสียงที่เป็นคำวิจารณ์ไปยังสมองส่วนกลีบขมับ(Temporal lobe) และมีการแปลออกมาเป็นภาษาที่เราเข้าใจ
สมองส่วนกลีบขมับนี้ เป็นส่วนหนึ่งของวงจรสมองส่วนอารมณ์(Limbic system)
ดังนั้นเมื่อเราได้ยินคำวิจารณ์ ไม่ว่าจะเกิดจากเจตนาที่ดี(Love critics) หรือเจตนาที่ไม่ดี(Hate critics)
สมองของเราจะสร้างอารมณ์ขึ้นมาในแทบจะทันที
และเนื่องจากสมองส่วนนี้เชื่อมโยงอย่างใกล้ชิดกับสมองส่วนใน(Inner brain) ที่เป็นสมองส่วนดึกดำบรรพ์
สมองส่วนในเคยชินกับการมองทุกอย่างเป็นเรื่องลบ เรื่องอันตราย เพื่อความอยู่รอดของเผ่าพันธ์ุมนุษย์
ดังนั้นเมื่อสมองชั้นกลางบริเวณกลีบขมับได้รับเสียงคำวิจารณ์
สมองส่วนใน ก็จะเชื่อมโยงโดยอัตโนมัติว่า น่าจะเป็นเรื่องไม่ดีไว้ก่อน
(อาจมีข้อสงสัยว่า แล้วมนุษย์ที่สมองชั้นในคิดบวกเด่นเป็นปกติไม่มีเลยเหรอ ตรงนี้คาดว่า มนุษย์ที่สมองส่วนในคิดบวกเด่นเป็นปกติ ได้สูญพันธ์ุตายไปหมดจากการถูกสัตว์ป่าในยุคหินกินไปหมดแล้วมั้งครับ 555)

ด้วยกลไกของสมอง ทำให้มนุษย์เรา มีแนวโน้มระวังตัวเองมากขึ้น

เราจึงแยกระหว่าง หมอกจางๆ และควัน ได้ยากเสียเหลือเกิน

industry-611668_1920

แล้วเราจะเพิ่มความสามารถในการแยกระหว่าง Love critics และ Hate critics ได้อย่างไรล่ะ???

ด้วยสมองชั้นใน และชั้นกลางที่บดบังความสามารถในการแยกแยะเรื่องไม่ดี กับเรื่องที่ดี มีการทำงานในแบบอัตโนมัติ(Autopilot) และรวดเร็ว(Fast thinking)
เราก็ต้องรอเวลาให้สมองทั้งสองส่วนหยุดพักตัวลง และให้สมองส่วนหน้า(Frontal lobe) ที่มีหน้าที่แยกแยะถูก ผิด เหตุ และผล ซึ่งทำงานได้ช้ากว่า ได้มีโอกาสได้เข้ามาแทรกแซงการทำงานแทน
ดังนั้นเมื่อเราได้ยินคำวิจารณ์ เราควรทำดังต่อไปนี้
  1. ยิ้ม และพูดคำว่า “อืม ขอบคุณ ขอบใจนะ” เพราะเมื่อเรายิ้ม โดยธรรมชาติ สมองส่วนที่ควบคุมกล้ามเนื้อหน้าที่ทำหน้าที่ในการยิ้ม จะถูกเชื่อมโยงกับสมองส่วนอารมณ์ดี เป็นปกติอยู่แล้ว เพราะเราอารมณ์ดี เราจึงยิ้ม เป็นปกติ เมื่อเราลองทำกลับกัน เรายิ้ม สมองส่วนอารมณ์ดี ก็จะถูกกระตุ้นโดยอัตโนมัติเช่นกัน
  2. อย่าเพิ่งตอบกลับ ไม่ว่าจะเห็นด้วยหรือไม่กับคำวิจารณ์นั้นๆ เพราะขณะนั้น สมองส่วนเหตุผล เรายังไม่ได้เริ่มทำงาน แต่เป็นสมองชั้นใน และชั้นกลางเข้ามาทำงานอยู่แทน สิ่งที่เราตอบกลับไป ผสมด้วยอารมณ์เป็นหลัก
  3. รอผ่านไป 24 หรือ 48 ชม เสียก่อน ค่อยกลับมาคิดแยกแยะถึงคำวิจารณ์นั้นๆอีกครั้งว่า สมเหตุ สมผล หรือไม่ เพราะอะไร ซึ่ง ณ ตอนนี้ สมองส่วนสัญชาตญาณ และอารมณ์ทำงานน้อยลงมากแล้ว เราจะสามารถดึงความสามารถของสมองส่วนเหตุผล(Frontal lobe) ออกมาได้เต็มที่นั่นเอง

สรุป

โอกาสในการพัฒนาเป็นคนที่ดีกว่า สำคัญอยู่ที่ความสามารถในการแยกแยะระหว่าง หมอกจางๆ(Love critics) และควัน(Hate critics) ซึ่งมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่เราจะต้องเข้าใจถึงกลไกในสมองที่บดบังความสามารถในการแยกแยะ รวมไปถึงวิธีการทางสมองที่จะเพิ่มศักยภาพในการแยกแยะคำวิจารณ์ทั้งสองอย่างนี้ให้ออก
คิดปรับมุม BrainChef
DoctorT Neuro
ดอกเตอร์ทีนิวโร

ใส่ความเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s