ท่ามกลางบรรยากาศอันร่มรื่น ณ หุบเขาอันเงียบสงบ
ชินโนะสุเกะกำลังง่วนอยู่กับการอ่านตำราทางการแพทย์ หลังจากที่เขากำลังจะเรียนจบแพทย์ปีที่ 6
มันช่างเป็นความสุขอย่างเหลือล้นที่ เด็กน้อยชาวญี่ปุ่นธรรมดาๆคนนึง สามารถฟันฝ่าเข้ามาเรียนแพทย์ของมหาวิทยาลัยชื่อดังย่านสยามสแควร์ได้เมื่อ 6 ปีก่อน
“พี่ๆ เรียกไม่ได้ยินเหรอ”
เป็นประโยคเดียวที่ชินโนะสุเกะได้ยิน พร้อมกับหันมามองหน้าแฟนสาวหุ่นดีชาวไทย
“หือ มีไรเหรอ”
“มี่เรียกพี่ตั้งนาน ทำไมไม่ตอบ แกล้งทำเป็นไม่ได้ยินละซิ”
ใครเคยเจอแบบชินโนะสุเกะจังบ้าง ยกมือได้นะคร้าบ
ถ้าคุณเคยถูกใครหงุดหงิดใส่คุณ เมื่อตอนที่คุณกำลังจรดจ่อที่จอมือถือ หรือกำลังอ่านหนังสืออย่างสนุกสนาน แล้วคุณไม่ได้ยินในสิ่งที่เค้าเรียกคุณเลย นั่นไม่ใช่ความผิดของคุณแต่อย่างไร
เป็นแค่สมองของคุณไม่พร้อมที่จะมอง และฟังไปพร้อมๆกัน แค่นั้นเอง
การเพ่งสมาธิอยู่กับหน้าจอ หรือหนังสือ ทำให้คุณเกิดสภาวะที่เรียกว่า
“หูดับรับประทาน ชั่วคราว(Temporarily deaf)”
มีการศึกษาด้วยเครื่องมือพิเศษที่เรียกว่า MEG(Magnetic Encephalography) ที่แสดงให้เห็นว่า สมองของเรามีขีดจำกัดในการรับข้อมูลพร้อมๆกัน ในช่วงเวลาใด เวลาหนึ่ง
เมื่อเรากำลังใช้สมองให้มองจ้องไปที่สิ่งใด(มี Visual task) จะส่งผลให้สมองไม่สามารถที่จะรับรู้ถึงเสียงที่ผ่านเข้ามาทางหูได้ ในบางครั้งอาจเรียกได้ว่า ไม่ได้ยินทั้งหมดเลย!!!
We’re not just ignoring the sound or filtering it out — we aren’t hearing it at all. Some psychologists call this “inattentional deafness.”
สรุป
inattentional deafness ไม่ได้เป็นสิ่งที่อันตรายต่อเรา แค่เป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติของสมอง เพียงแต่อาจจะสร้างความรำคาญให้กับคนใกล้ชิด ยกเว้นว่า เกิดขึ้นในขณะที่คุณกำลังจ้องหน้าจอมือถือ แล้วเดินไปตามถนนสาธารณะเท่านั้น
หรือ
ในกรณีที่แฟนคุณเรียก แล้วคุณไม่ตอบสนองกลับให้ทัน…อันนั้นตัวใครตัวมันนะครับ
คิดปรับมุม BrainChef
DoctorT Neuro
ดอกเตอร์ทีนิวโร
Like this:
ถูกใจ กำลังโหลด...
Published by Doctor T Neuro
I am a neurologist interested in neuropsychiatry
ดูเรื่องทั้งหมดโดย Doctor T Neuro