มันจะเยี่ยมยอดสุดๆไปเลยหรือไม่ ถ้าการเริ่มต้นเรียนภาษาที่สอง เช่น ภาษาอังกฤษ ไม่ได้มีประโยชน์กับลูกของคุณเพียงแค่ในด้านที่จะนำไปใช้ต่อยอดในอนาคต แต่มันมีความหมายที่มากไปกว่านั้น และประโยชน์ที่มากกว่านั้น หมายถึง
การกระตุ้นพัฒนาการของสมองในด้านความคิดสร้างสรรค์ รวมไปถึงการคิดวิเคราะห์ แยกแยะ อย่างเป็นระบบอีกด้วย!!!
ผมเชื่อเหลือเกินว่า ในปัจจุบัน ทุกครอบครัวตระหนักดีถึงประโยชน์ของการเรียนรู้ภาษาที่สอง โดยเฉพาะภาษาอังกฤษ เพื่ออนาคตที่ดีของลูก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องโอกาสในการเรียนต่อต่างประเทศ โอกาสในการทำงานที่ดียิ่งขึ้น หลายครอบครัวที่พ่อ หรือแม่ พูดภาษาอังกฤษได้ดีพอประมาณ ก็จะสื่อสารกับลูกน้อยเป็นภาษาอังกฤษ ตั้งแต่แรกเกิด ในขณะที่หลายครอบครัว ก็เลือกที่จะหาครูต่างชาติมาสอนเสริมเพิ่มเติมในภายหลัง
แล้วเราเคยตั้งคำถามกับตัวเราเองบ้างหรือไม่ว่า แล้วช่วงอายุเท่าไหร่ ที่จะเหมาะ และเกิดประโยชน์ต่อลูกที่จะเริ่มต้นเรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สองกันล่ะ???
Too early for younger kids to learn a second language???
เรื่องนี้เป็นเรื่องที่มีการถกเถียง รวมไปถึงนำไปสู่งานวิจัยทางวิทยาศาสตร์เป็นจำนวนมาก สำหรับครอบครัวที่ไม่ได้มีพ่อ และแม่พูดได้ทั้งสองภาษา การที่จะเริ่มเรียนรู้ภาษาที่สอง ก็มักจะเริ่มเมื่อเข้าสู่ชั้นประถม แต่ก็มีบางครอบครัวที่อาจเริ่มเรียนภาษาที่สองในช่วงวัยก่อนชั้นประถม(7 ขวบ)
ถ้าเป็นสมัยก่อน ก็คงเกิดคำถามมากมายว่า เด็กเล็ก อายุ 3-7 ขวบ สามารถที่จะเรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สองได้แล้วหรือ ไม่เร็วเกินไปเหรอ
ณ ปัจจุบัน เป็นที่ยอมรับกันแล้วว่า เด็กเล็ก อายุ 3-7 ขวบ สามารถที่จะเรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สองได้อย่างไม่มีปัญหา
“Children have a natural ability to learn, which is developed during the first 3-4 years of their life.”
แต่สิ่งที่พ่อแม่หลายท่านอาจจะยังไม่รู้ก็คือ ในวัยนี้ การเรียนภาษาที่สองนั้น ให้อะไรที่มากกว่าทักษะทางด้านภาษาเสียอีก
สิ่งเหล่านั้นก็คือ การพัฒนาสมองทั้ง 2 ซีก ไปพร้อมๆกันด้วยการเรียนรู้ภาษาที่สองนั่นเอง!!!
Terrible Two…สมองของลูกน้อย คือ สิ่งมหัศจรรย์!!!
หลายคนคงคุ้นเคยกับช่วงวัยที่ลูกน้อยสนใจที่จะเรียนรู้ รวมไปถึงความวุ่นวายที่เกิดขึ้นในวัย 2-3 ขวบ ที่เรียกว่า Terrible Two กันเป็นอย่างดี
มันเกิดอะไรในช่วงอายุ 2-3 ขวบกันล่ะ
ทารกเกิดออกมาพร้อมกับเซลล์สมองราว 1 แสนล้านเซลล์ พอๆกับในวัยผู้ใหญ่ แต่เด็กทารกยังมีการเชื่อมโยงของเซลล์สมองที่เรียกว่า synapse ไม่มากเท่าผู้ใหญ่ และการเชื่อมโยงนี้สอดคล้องกับความฉลาด ในด้านต่างๆของคนเรานั่นเอง
ในช่วงวัย 2-3 ขวบ สมองของเด็กจะมีการเพิ่มการเชื่อมโยงกันอย่างมหาศาล(Synaptogenesis) และในขณะเดียวกัน ก็มีการลบทิ้งการเชื่อมโยงนั้นไปด้วย(Pruning)
คาดประมาณได้ว่า ถ้าไม่มีการลบทิ้ง(Pruning) สมองของเด็ก 3 ขวบจะมีการเชื่อมโยงระหว่างเซลล์สมอง(Synapse) ในปริมาณที่มากกว่าผู้ใหญ่ถึง 3 เท่าตัว หรือเป็นตัวเลขราว 3 ล้านล้านการเชื่อมโยงเลยทีเดียว!!!
ตัวเลขเหล่านี้สอดคล้องกับพฤติกรรมของเด็กในวัยนี้ที่สนใจ อยากที่จะเรียนรู้ในเรื่องราวต่างๆมากมาย จนนำไปสู่พฤติกรรมที่ออกจะวุ่นวายที่เรียกว่า Terrible Two นั่นเอง
ภาษาที่สอง ช่วยพัฒนา EF(Executive function) ได้อย่างไร???
มีการศึกษาพบว่า เด็กวัย 3-7 ขวบ ซึ่งเป็นช่วงวัยที่เซลล์สมองกำลังมีการเชื่อมโยงระหว่างกันสูง ได้รับการกระตุ้นอย่างถูกวิธี ด้วยการเรียนภาษาที่สองในรูปแบบที่ผ่านการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ก็จะส่งเสริมทักษะในการคิด วิเคราะห์ เชื่อมโยงเหตุผล แก้ปัญหา ที่เรียกว่า EF(Executive function) ได้ดียิ่งขึ้น
รวมไปถึง การเพิ่มขึ้นของเนื้อสมองส่วนเทา(Gray matter) ของสมองทั้งสองซีก โดยการตรวจด้วยเครื่องสแกน fMRI ในเด็กวัย 3-7 ขวบที่ได้เรียนภาษาที่สอง(Bilingual) เทียบกับเด็กที่เรียนภาษาเดียว(Monolingual) หรือเด็กสองภาษาที่เริ่มเรียนภาษาที่สองหลังอายุ 7 ขวบ
“Morales, Calvo, and Bialystok (2013) found that the bilingual students
outperformed monolinguals overall, as they were recorded to not only respond more quickly, but more accurately throughout the tests as well.
This clear advantage in the area of executive functioning in bilingual individuals confirmed the study’s hypothesis.”
Eastern Michigan University
ของติดสมองก่อนจบ
-
การเรียนรู้ภาษาที่สองในเด็กช่วงอายุ 3-7 ขวบ เสริมสร้างพัฒนาการของสมองเด็กได้อย่างชัดเจน สอดคล้องกับหลักฐานทางประสาทวิทยาศาสตร์(Neuroscience)
-
การเรียนภาษาที่สองในวัยนี้ ส่งเสริมพัฒนาการของสมองในหลายๆด้าน โดยเฉพาะด้านการคิดอย่างมีเหตุผล วิเคราะห์ แยกแยะ แก้ปัญหา ที่เรียกว่า Executive function(EF)
-
การเรียนรู้ในวัยนี้ ต้องผ่านวิธีการเรียนรู้ผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 คือ Sight(สายตา) Taste(การรับรส) Smell(การดมกลิ่น) Sound(การได้ยิน) Touch(การสัมผัส) ด้วยการลงมือทำ(Learning by Doing)
คิดปรับมุม BrainChef
DoctorT Neuro
ดอกเตอร์ทีนิวโร
Like this:
ถูกใจ กำลังโหลด...
Published by Doctor T Neuro
I am a neurologist interested in neuropsychiatry
ดูเรื่องทั้งหมดโดย Doctor T Neuro