เหมือนตัวจะหรุ่มๆ คล้ายจะเป็นไข้ เอ หรือว่า ติดโควิดเข้าแล้วหว่า

อาจจะเป็นคำถามยอดฮิตประจำวัน หลังตื่น และก่อนเข้านอนของทุกคนในช่วงนี้

และคงจะเป็น new abnormal แบบนี้ไปอีกหลายเดือน กว่าที่วัคซีนที่ได้ผลจะออกสู่สายการผลิตจริง

และยิ่งกว่านั้น เรายังไม่มียาที่จำเพาะสำหรับการฆ่าเชื้อไวรัสโควิดนี้เลย ยาที่ใช้ๆ กันอยู่ คือการนำยาที่ใช้กับโรคอื่นๆ เชื้ออื่นๆ มาลองใช้ในสถานการณ์ที่จำเป็นแบบช่วงที่ผ่านมาเท่านั้นเอง

ในระหว่างที่เอายาเก่ามาใช้ ก็ทำการศึกษาวิจัยไปด้วยว่าได้ผลจริงหรือไม่ เมื่อทำการศีกษาไปมากระดับหนึ่ง ก็พบว่า ข้อมูลจากหลายงานวิจัย และหลายประเทศ เริ่มมีความขัดแย้งกันในประสิทธิภาพของยาเหล่านี้

โดยสรุป ณ ปัจจุบัน ยังไม่มียาที่จำเพาะสำหรับไวรัสโควิด-19 นี้เลยครับ

แล้วในระหว่างนี้ เราพอจะมีอะไรพอป้องกันการติดเชื้อโควิด-19 ได้บ้างไหมนะ

ก่อนอื่นเราต้องทราบว่า เหตุปัจจัยที่จะทำให้เราไม่สบาย หลังได้รับเชื้อโรคเข้าไปมีอะไรบ้าง เพราะจากข้อมูล ณ ปัจจุบัน พบว่า ราว ร้อยละ 80 ของผู้ติดเชื้อ จะไม่มีอาการ หรืออาการน้อยมากๆ ส่วนน้อยราว 10 กว่าเปอร์เซนต์จะมีอาการคล้ายไข้หวัด และไม่ถึง 10 เปอร์เซนต์ที่จะมีอาการรุนแรง(ยกเว้นกลุ่มผู้สูงอายุ และผู้มีโรคประจำตัวเช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูงทีุ่คมได้ไม่ดี และภาวะภูมิต้านทานบกพร่อง จะมีความรุนแรงที่มากขึ้น)

ปัจจัยที่ทำให้เราเกิดการเจ็บป่วยเมื่อได้รับเชื้อเข้าไปประกอบด้วย ปัจจัยของตัวเชื้อเอง เช่นการได้รับเชื้อปริมาณมาก ก็จะเพิ่มโอกาสเจ็บป่วยได้มากขึ้น รวมไปถึงปัจจัยทางร่างกายเราเดิมว่า แข็งแรงดีอยู่หรือไม่ ระบบภูมิต้านทานภายในของเรายังเข้มแข็งดีอยู่หรือไม่ นอกจากนี้ก็มีปัจจัยด้านสภาพแวดล้อม เช่น อากาศที่ร้อน เย็น ความชื้นที่จะส่งผลต่อการอยู่รอดของเชื้อเป็นต้น

อาหารที่ดี และสมุนไพรบางชนิด อาจเป็นแสงสว่างของการเสริมภูมิต้านทาน

มีการศึกษามากมายก่อนหน้าที่จะเกิดการระบาดของ Covid-19 เกี่ยวกับอาหาร และสมุนไพรที่ส่งผลดีต่อการเสริมภูมิต้านทาน(Immunomodulatory effect) รวมไปถึงความสามารถในการต้านทานเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ และโคโรน่าไวรัสสายพันธุ์เก่าก่อนหน้านี้ ทำให้เราสามารถที่จะอ้างอิงถึงการประยุกต์ความรู้เหล่านี้มาใช้ในการป้องกันการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้ในระดับนึง อย่างไรก็ดี การเว้นระยะห่างทางสังคม(Social distancing) การหมั่นล้างมือ ก็ยังเป็นสิ่งที่สำคัญในการป้องกันการติดเชื้ออยู่นะครับ

Immunomodulatory effect of foods and herbs and their antiviral activities against influenza, SARS-CoV-1, and SARS-CoV-2

มีการศึกษาถึงสารอาหาร และสมุนไพรหลายชนิดที่มีผลดีต่อระบบภูมิคุ้มกัน และความสามารถในการต้านทานไวรัสไข้หวัดใหญ่ และโคโรน่าไวรัสสายพันธุ์ก่อนหน้านี้ เช่น SAR-CoV-1

อาหาร และสมุนไพรที่ส่งผลดีได้แก่ กระเทียม(Garlic) ขิง(Ginger) โสม(Panax ginseng) ยูคาลิปตัส(Eucalyptus polybractea) พลูคาว(Houttuynia cordata) เป็นต้น

โดยวิธีการใช้มีตั้งแต่รับประทาน สูดดม

นอกจากนี้ยังมีการศีกษาถึงวิตามิน และสารอาหารต่างๆ เช่น

วิตามินดี(Vitamin D) ที่พบว่า การมีระดับวิตามินดีที่ต่ำสัมพันธ์กับความเสี่ยงในการติดเชื้อทางระบบทางเดินหายใจ

วิตามินซี(Vitamin C) มีฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระ และเป็น co-factor กับปฏิกิริยาต่างๆภายในร่างกาย แต่จากการศึกษาในปัจจุบันยังไม่พบหลักฐานเพียงพอว่าช่วยป้องกันการเป็นไข้หวัด

Trace elements เช่น สังกะสี(Zinc) ซึ่งมีคุณสมบัติสำคัญต่อระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย และการพบภาวะสังกะสีต่ำสัมพันธ์กับความเสี่ยงในการติดเชื้อต่างๆ แต่ในปัจจุบันก็ยังไม่พบหลักฐานที่น่าเชื่อถือได้มากพอว่า สังกะสีช่วยลดความเสี่ยงในการป่วยด้วยโรคไข้หวัดใหญ่

คำแนะนำในการลดความเสี่ยงของการติดเชื้อไวรัส

นอกเหนือจากการปฏิบัติตามหลักสุขอนามัยทีดีแล้ว เราควรปฎิบัติตนตามนี้

  1. รับประทานอาหารให้เพียงพอ และครบทุกหมู่ โดยเฉพาะ ผัก และผลไม้ที่มีประโยชน์อย่างเพียงพอ
  2. การได้รับวิตามินรวมเสริมเป็นช่วงเวลาสั้นๆ ในกรณีที่เริ่มรู้สึกว่าจะไม่สบาย ก็อาจจะได้ประโยชน์
  3. คนที่มีน้ำหนักเกิน(BMI มากกว่า 25) ควรลดน้ำหนักให้ได้อย่างน้อย 5% ในเวลา 12 สัปดาห์
  4. ผู้ที่มีโรคประจำตัวโดยเฉพาะเบาหวาน ต้องควบคุมอาหาร ออกกำลังกาย เพื่อรักษาระดับน้ำตาลให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม เพราะระดับน้ำตาลที่สูง จะส่งผลเสียต่อการทำงานของระบบภูมิต้านทานของร่างกาย
  5. อาหารกลุ่ม Probiotics มีส่วนช่วยในการเสริมระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย

สุดท้าย ถ้ารู้สึกว่า คล้ายจะเป็นไข้ มีอาการของหวัด ท้องเสีย จมูกไม่ได้กลิ่นเฉียบพลัน แนะนำให้รีบไปพบแพทย์ เพื่อตรวจหาสาเหตุให้ชัดเจนอีกทีนะครับ

หมอที นิวโร

เครดิต รูป และข้อมูลจาก

Panyod S, Ho CT, Sheen LY. Dietary therapy and herbal medicine for COVID-19 prevention: A review and perspective [published online ahead of print, 2020 May 30]. J Tradit Complement Med. 2020;doi:10.1016/j.jtcme.2020.05.004

Jayawardena R, Sooriyaarachchi P, Chourdakis M, Jeewandara C, Ranasinghe P. Enhancing immunity in viral infections, with special emphasis on COVID-19: A review [published online ahead of print, 2020 Apr 16]. Diabetes Metab Syndr. 2020;14(4):367-382. doi:10.1016/j.dsx.2020.04.015

ใส่ความเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s