(ตอนที่ 2)ชนะใจคนง่ายๆ ด้วยเทคนิคเจาะลึกถึงสมองทั้ง 3 ส่วน…เพิ่มความสำเร็จด้วยผงชูรส

humanise-or-vaporise-focus-on-social-content-being-meaningful-by-ladyxtel-20-728

“ทุกคนเกิด และเติบโตขึ้นมา พร้อมกับสมอง 3 ส่วนที่ทำงานแตกต่างกันโดยสิ้นเชิงที่มีชื่อเรียกว่า Triune Brain”

จากตอนที่แล้ว ที่เราได้รู้ถึงสมองชั้นในที่เกี่ยวกับสัญชาตญาณ(Inner/Instinct/Reptilian Brain) ไปแล้วนั้น จะเห็นได้ว่า
“สมองชั้นนี้ทำงานเร็ว เป็นอัตโนมัติอยู่ตลอดเวลา และเกี่ยวกับตัวเรา ของเรา การอยู่รอด และดำรงเผ่าพันธ์ุเป็นหลัก”
การกระตุ้นสมองส่วนนี้ จะทำให้ดึงความสนใจ(Grab attention)ได้ง่าย และเร็ว
แต่สมองส่วนนี้ก็ทำงานเป็นช่วงเวลาสั้นๆ แล้วก็จากไป!!!
ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม มีสมองที่ครอบสมองชั้นในขึ้ันมาอีกชั้นตามวิวัฒนาการ สมองส่วนนี้ทำงานเกี่ยวกับอารมณ์ และความจำ เป็นหลัก
เราเรียกสมองส่วนนี้ว่า สมองชั้นกลาง สมองอารมณ์ หรือสมองลิมบิก(Middle/Emotional/Limbic Brain)

limbic-brain

Credit: https://contentmarketinginstitute.com/2018/03/words-convert-test/limbic-brain/

อ่านเพิ่มเติม “(ตอนที่ 2)ชนะใจคนง่ายๆ ด้วยเทคนิคเจาะลึกถึงสมองทั้ง 3 ส่วน…เพิ่มความสำเร็จด้วยผงชูรส”

(ตอนที่ 2) ฝึกลูกอย่างไร ให้ชนะ Googling

“ในยุคนี้ที่จะหาอะไรก็ Googling ได้หมด คนที่จะอยู่รอดไม่ใช่คนที่รู้ทุกอย่าง เพราะในแต่ละวินาทีก็จะมีข้อมูลใหม่ทะลักเข้ามา ความรู้ที่เรามีก็จะกลายเป็นความรู้ทีล้าสมัย(Outdated) ได้ในทันที”

อ่านเพิ่มเติม “(ตอนที่ 2) ฝึกลูกอย่างไร ให้ชนะ Googling”

(ตอนที่ 1) ฝึกลูกอย่างไร ให้ชนะ Googling

จากการโหมกระหน่ำของข้อมูลข่าวสารอันมหาศาลในยุคปัจจุบันนี้ที่เรียกว่า IOKO(Information Overload Knowledge Overflow) ได้ส่งผลต่อการทำงานในหลายส่วนของสมอง และจิตใจของลูกเรา โดยเฉพาะในช่วงเข้าสู่วัยรุ่นที่สมองส่วนที่ตอบสนองต่อการได้รางวัล(Reward system) มีความไวเป็นพิเศษ(Sensitive) และสมองส่วนนี้จะมีการหลั่งสารสื่อสมองที่เรียกว่า โดปามีน(Dopamine) เมื่อรู้สึกมีความสุข เคลิบเคลิ้มไปกับการได้รับการยอมรับ(จากยอด Like ที่สูง) ส่งผลให้วัยรุ่นในยุคนี้ มีสมาธิที่สั้น(Short attention span) และมีแนวโน้มที่จะเกิดภาวะซึมเศร้า(Depression) ได้ง่าย 
ผลกระทบที่เกิดขึ้นไม่ว่าจะเป็นเรื่อง สมาธิที่สั้นลง เพราะมัวแต่มองหาสิ่งที่กระตุ้นให้เกิดอารมณ์สุข เช่น รูปของตัวเองที่มียอดไลค์ที่สูง รวมไปถึง การที่สมองของเด็กยุคใหม่ถูกฝึกให้ตัดสินใจเร็วที่จะ “รีบเชื่อ” “รีบแชร์” และ “คอมเมนต์” ในเรื่องต่างๆที่เกิดขึ้นมาในแต่ละวัน เพราะไม่ต้องการที่จะตกกระแส(FOMO – Fear Of Missing Out) และการต้องการได้รับการยอมรับจากสังคม(Conformity) ล้วนส่งผลเสียต่อการทำงานของสมองของเด็กโดยไม่รู้ตัว
เนื่องจากการรีบตัดสินใจ “เชื่อ แชร์ และคอมเมนต์” นั้น ทำให้มีแต่การสร้างวงจรสมองส่วนเร็ว(Fast system)* ที่เกี่ยวข้องกับอารมณ์ และความเชื่อเป็นหลัก ในขณะที่สมองส่วนตรรกะ และเหตุผล ที่ทำงานได้ช้า แต่ทรงประสิทธิภาพมากกว่า(Slow System) ไม่มีโอกาสได้ทำงานเท่าไหร่นัก ซึ่งหลักการของสมองที่ได้รับการพิสูจน์แล้วก็คือ ยิ่งใช้สมองส่วนไหน สมองส่วนนั้นก็จะมีการเชื่อมโยงใหม่ๆเกิดขึ้นตลอด ทำให้สมองส่วนนั้นทำงานได้อย่างง่ายดายมากยิ่งขึ้น จนถึงขั้นทำงานได้อย่างอัตโนมัติ(Autopilot) ในขณะที่สมองที่ไม่ค่อยได้ถูกใช้ ก็จะมีการเชื่อมโยงลดลงเรื่อยๆ ก็จะทำให้มีความยากลำบากในการใช้งานมากยิ่งขึ้นไป
**ซึ่งถ้าผู้ใดสนใจที่จะศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับ ระบบการคิดแบบเร็ว และช้า(Fast and Slow systems) สามารถที่จะอ่านเพิ่มเติมได้จากหนังสือ “Thinking, Fast and Slow” ของ Daniel Kahneman ผู้ได้รับรางวัลโนเบลปี 2002 สาขา  Nobel Memorial Prize in Economic Sciences
woman-3169680_1920.jpg
นั่นก็คือ Social medias ที่มีปริมาณข้อมูลมากมหาศาล(IOKO) ที่ผ่านเข้ามาอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้มีการเชื่อมโยงสมองในส่วนของความเชื่อ และอารมณ์(Fast system) เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในขณะที่การใช้เหตุผลลดลง สมองส่วนที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับหลักการ และเหตุผล(Slow system) ก็มีการเชื่อมโยงที่ลดลงไปเรื่อยๆ สุดท้าย ก็จะส่งผลให้สังคมเรามีแต่เด็ก ที่ใช้แต่ความเชื่อ และอารมณ์ มากกว่าการใช้หลักการ และเหตุผลในที่สุด
ถ้าเรายังปล่อยไปแบบนี้ สุดท้าย เด็กเหล่านี้ก็จะคิดเองไม่เป็น เชื่อแต่การชี้นำของสังคม และคนรอบข้างเป็นหลัก ไม่สามารถที่จะคิดอะไรที่แตกต่างอย่างสร้างสรรค์ได้เลย(Innovation) และพวกเค้าเหล่านั้น ก็จะต้องแพ้ต่อเทคโนโลยีที่มีแต่จะก้าวหน้าขึ้นอย่างก้าวกระโดดในแต่ละปี ไม่ว่าจะเป็นในเรื่อง ปัญญาประดิษฐ์(AI) และการค้นหาข้อมูลอันมหาศาลจากการ Googling ได้ในเสี้ยววินาที แต่พวกเค้ากลับไม่รู้ว่า ข้อมูลไหน จริง เท็จ หรือมีประโยชน์อะไรหรือไม่

question-mark-2492009_1920 (1).jpg

อ่านเพิ่มเติม “(ตอนที่ 1) ฝึกลูกอย่างไร ให้ชนะ Googling”