The Best Age for Kids to Learn a Second Language due to Neuroscience
มันจะเยี่ยมยอดสุดๆไปเลยหรือไม่ ถ้าการเริ่มต้นเรียนภาษาที่สอง เช่น ภาษาอังกฤษ ไม่ได้มีประโยชน์กับลูกของคุณเพียงแค่ในด้านที่จะนำไปใช้ต่อยอดในอนาคต แต่มันมีความหมายที่มากไปกว่านั้น และประโยชน์ที่มากกว่านั้น หมายถึง
การกระตุ้นพัฒนาการของสมองในด้านความคิดสร้างสรรค์ รวมไปถึงการคิดวิเคราะห์ แยกแยะ อย่างเป็นระบบอีกด้วย!!! อ่านเพิ่มเติม “The Best Age for Kids to Learn a Second Language due to Neuroscience”
(ตอนที่ 1) ฝึกลูกอย่างไร ให้ชนะ Googling
จากการโหมกระหน่ำของข้อมูลข่าวสารอันมหาศาลในยุคปัจจุบันนี้ที่เรียกว่า IOKO(Information Overload Knowledge Overflow) ได้ส่งผลต่อการทำงานในหลายส่วนของสมอง และจิตใจของลูกเรา โดยเฉพาะในช่วงเข้าสู่วัยรุ่นที่สมองส่วนที่ตอบสนองต่อการได้รางวัล(Reward system) มีความไวเป็นพิเศษ(Sensitive) และสมองส่วนนี้จะมีการหลั่งสารสื่อสมองที่เรียกว่า โดปามีน(Dopamine) เมื่อรู้สึกมีความสุข เคลิบเคลิ้มไปกับการได้รับการยอมรับ(จากยอด Like ที่สูง) ส่งผลให้วัยรุ่นในยุคนี้ มีสมาธิที่สั้น(Short attention span) และมีแนวโน้มที่จะเกิดภาวะซึมเศร้า(Depression) ได้ง่าย
ผลกระทบที่เกิดขึ้นไม่ว่าจะเป็นเรื่อง สมาธิที่สั้นลง เพราะมัวแต่มองหาสิ่งที่กระตุ้นให้เกิดอารมณ์สุข เช่น รูปของตัวเองที่มียอดไลค์ที่สูง รวมไปถึง การที่สมองของเด็กยุคใหม่ถูกฝึกให้ตัดสินใจเร็วที่จะ “รีบเชื่อ” “รีบแชร์” และ “คอมเมนต์” ในเรื่องต่างๆที่เกิดขึ้นมาในแต่ละวัน เพราะไม่ต้องการที่จะตกกระแส(FOMO – Fear Of Missing Out) และการต้องการได้รับการยอมรับจากสังคม(Conformity) ล้วนส่งผลเสียต่อการทำงานของสมองของเด็กโดยไม่รู้ตัว
เนื่องจากการรีบตัดสินใจ “เชื่อ แชร์ และคอมเมนต์” นั้น ทำให้มีแต่การสร้างวงจรสมองส่วนเร็ว(Fast system)* ที่เกี่ยวข้องกับอารมณ์ และความเชื่อเป็นหลัก ในขณะที่สมองส่วนตรรกะ และเหตุผล ที่ทำงานได้ช้า แต่ทรงประสิทธิภาพมากกว่า(Slow System) ไม่มีโอกาสได้ทำงานเท่าไหร่นัก ซึ่งหลักการของสมองที่ได้รับการพิสูจน์แล้วก็คือ ยิ่งใช้สมองส่วนไหน สมองส่วนนั้นก็จะมีการเชื่อมโยงใหม่ๆเกิดขึ้นตลอด ทำให้สมองส่วนนั้นทำงานได้อย่างง่ายดายมากยิ่งขึ้น จนถึงขั้นทำงานได้อย่างอัตโนมัติ(Autopilot) ในขณะที่สมองที่ไม่ค่อยได้ถูกใช้ ก็จะมีการเชื่อมโยงลดลงเรื่อยๆ ก็จะทำให้มีความยากลำบากในการใช้งานมากยิ่งขึ้นไป
**ซึ่งถ้าผู้ใดสนใจที่จะศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับ ระบบการคิดแบบเร็ว และช้า(Fast and Slow systems) สามารถที่จะอ่านเพิ่มเติมได้จากหนังสือ “Thinking, Fast and Slow” ของ Daniel Kahneman ผู้ได้รับรางวัลโนเบลปี 2002 สาขา Nobel Memorial Prize in Economic Sciences
นั่นก็คือ Social medias ที่มีปริมาณข้อมูลมากมหาศาล(IOKO) ที่ผ่านเข้ามาอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้มีการเชื่อมโยงสมองในส่วนของความเชื่อ และอารมณ์(Fast system) เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในขณะที่การใช้เหตุผลลดลง สมองส่วนที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับหลักการ และเหตุผล(Slow system) ก็มีการเชื่อมโยงที่ลดลงไปเรื่อยๆ สุดท้าย ก็จะส่งผลให้สังคมเรามีแต่เด็ก ที่ใช้แต่ความเชื่อ และอารมณ์ มากกว่าการใช้หลักการ และเหตุผลในที่สุด
ถ้าเรายังปล่อยไปแบบนี้ สุดท้าย เด็กเหล่านี้ก็จะคิดเองไม่เป็น เชื่อแต่การชี้นำของสังคม และคนรอบข้างเป็นหลัก ไม่สามารถที่จะคิดอะไรที่แตกต่างอย่างสร้างสรรค์ได้เลย(Innovation) และพวกเค้าเหล่านั้น ก็จะต้องแพ้ต่อเทคโนโลยีที่มีแต่จะก้าวหน้าขึ้นอย่างก้าวกระโดดในแต่ละปี ไม่ว่าจะเป็นในเรื่อง ปัญญาประดิษฐ์(AI) และการค้นหาข้อมูลอันมหาศาลจากการ Googling ได้ในเสี้ยววินาที แต่พวกเค้ากลับไม่รู้ว่า ข้อมูลไหน จริง เท็จ หรือมีประโยชน์อะไรหรือไม่
อ่านเพิ่มเติม “(ตอนที่ 1) ฝึกลูกอย่างไร ให้ชนะ Googling”
Self-esteem(ตอนที่ 1) ดาบสองคมที่ปิดกั้นศักยภาพที่แท้จริงของลูกคุณ???
“เราเคยแปลกใจกันบ้างไหมว่า ทำไมเพื่อนสมัยเรียนที่ดูเหมือนจะเป็นคนที่เรียนธรรมดามาก แต่เมื่อจบออกมาทำงาน กลับทำงานได้ดี และก้าวหน้ากว่าเพื่อนที่เรียนเก่งมากๆในรุ่นเสียอีก”
และเราก็ถูกสอนกันมาตลอดในการสร้างความภาคภูมิใจในตัวเอง(Self-esteem)ใหักับลูกหลานของเรา
เราเชื่อกันมาตลอดว่า Self-esteem เป็นสิ่งที่ลูกหลานของเราต้องมี
แล้วเราเคยตั้งคำถามง่ายๆกับตัวเองบ้างหรือไม่ว่า “สิ่งที่เราเชื่อเกี่ยวกับ Self-esteem นั้น ถูกต้องทุกอย่างหรือไม่???”
ผมไม่ได้บอกว่า Self-esteem เป็นสิ่งที่ผิด เพียงแต่กำลังจะบอกว่า ถ้าเราไม่เข้าใจเกี่ยวกับเรื่องนี้ดีพอในระดับหนึ่ง Self-esteem อาจจะกลายเป็นดาบสองคมที่ปิดกั้นศักยภาพที่แท้จริงของลูกคุณได้!!!
คุณเคยรู้สึกไม่กล้าที่จะแสดงความคิดเห็นที่แตกต่างจากคนส่วนใหญ่ เพียงเพราะกลัวจะถูกมองว่า ไม่ฉลาด บ้างไหม
คุณเคยรู้สึกกังวลว่า ถ้าคุณตอบคำถาม ในสิ่งที่คุณยังไม่รู้ ยังไม่แน่ใจ แต่คุณคิดว่าได้หาเหตุผลรอบคอบแล้ว แต่สุดท้าย ในเสี้ยววินาทีท้ายสุด คุณก็เลือกที่จะทำตัวเงียบ กลมกลืนไปกับคนอื่นๆรอบๆตัวคุณ เพียงเพราะคุณกลัวจะตอบผิด แล้วรู้สึกว่าเป็นคนโง่ในสายตาคนรอบข้างบ้างหรือไม่
คุณรู้สึกปลอดโปร่ง สบายใจที่จะทำตัวอยู่ใน กรอบของ Comfort zone ที่คุณเชี่ยวชาญในสิ่งที่คุณเคยประสบความสำเร็จใน อดีต (เช่น คุณภาคภูมิใจในความสำเร็จในการเรียนที่เป็นที่ 1 ของโรงเรียนในระดับมัธยม แต่เมื่อเข้าสู่รั้วมหาวิทยาลัย คุณกลับไม่กล้าที่จะทำสิ่งใหม่ๆที่คุณไม่เคยทำ) และไม่กล้าที่จะก้าวออกนอก Comfort zone บ้างหรือไม่
ทั้งหมดนั้น ก็คือ ด้านมืดของ Self-esteem ที่คุณอาจจะไม่เคยนึกถึง
กว่า 20 ปี ที่ ดร. Carol Dweck นักจิตวิทยาแห่งมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด สหรัฐอเมริกา ได้ทำการศึกษาวิจัยถึงปัจจัยที่ทำให้เด็กกลุ่มหนึ่งสามารถที่จะเติบโตขึ้นมาประสบความสำเร็จว่า แตกต่างจากเด็กที่เติบโตมาแล้วไม่ประสบความสำเร็จอย่างไรบ้าง
ดร. Carol ได้ค้นพบว่า ปัจจัยสำคัญในกลุ่มเด็กที่ไม่ประสบความสำเร็จนั้นก็คือ ความเชื่อ(Belief) ของเด็กในกลุ่มนี้ มีลักษณะที่ว่า “บุคลิกภาพ(Character) ความฉลาด(Intelligence) และความคิดสร้างสรรค์(Creativity) ของคนๆหนึ่งนั้นเป็นสิ่งที่ตายตัว ปรับเปลี่ยนไม่ได้”
เด็กกลุ่มนี้จะยึดติดกับ ความภาคภูมิใจ(Self-esteem) ในอดีตของตนเอง เช่น เคยเป็นคนเรียนเก่ง เมื่อต้องเผชิญกับสถานการณ์ใหม่ๆ ที่ตัวเองไม่ชำนาญ จะทำให้เด็กกลุ่มนี้ไม่กล้าที่จะลองผิดลองถูก กลัวที่จะผิดพลาด กลัวความล้มเหลว
เด็กกลุ่มนี้เมื่อจะทำอะไร ต้องทำเพื่อการพิสูจน์(Prove) ว่า ตัวเค้ายังเป็นคนเก่ง คนสำเร็จ เท่านั้น ถ้าไม่มั่นใจว่า การกระทำนั้นๆ จะให้ผลลัพธ์ในความเชื่อดังกล่าว เค้าก็จะไม่ก้าวออกมานอกกลุ่มชนโดยเด็ดขาด
เด็กกลุ่มนี้จะมีลักษณะที่กระหายความสำเร็จ(Success) และทนไม่ได้ที่จะล้มเหลว(Failure)
เด็กกลุ่มนี้จะทำทุกอย่างเพียงเพื่อพิสูจน์ว่า เค้ายังฉลาด เท่านั้น
ดร. Carol เรียกลักษณะกรอบความคิดที่มีผลต่อพฤติกรรม(Mindset) แบบนี้ว่า Fixed Mindset
โดยสรุปก็คือ Self-esteem ที่ใช้ไม่ถูกวิธี กลายเป็นดาบสองคมที่ทำให้เกิด Fixed Mindset และมีผลในการปิดกั้นศักยภาพที่แท้จริงของลูกของคุณได้
แล้วทางออกของปัญหาเหล่านี้มีหรือไม่ คืออะไร
จะมาเล่าให้ฟังในตอนต่อไปนะครับ
อ่านเพิ่มเติม “Self-esteem(ตอนที่ 1) ดาบสองคมที่ปิดกั้นศักยภาพที่แท้จริงของลูกคุณ???”
4 ขั้นตอนการดักจับความคิดสร้างสรรค์
4 ขั้นตอนการดักจับความคิดสร้างสรรค์
จากครั้งที่แล้ว เราได้รู้ว่า ความคิดสร้างสรรค์แม้จะเป็นสิ่งที่จับต้องไม่ได้ แต่มันมีที่อยู่ในสมองอย่างชัดเจน สามารถมองเห็นได้จากการสแกนด้วยเครื่อง fMRI
และวงจรของความคิดสร้างสรรค์ หรือที่เรียกว่า วงจรคิดเอาเล่น นั้น มีชื่อเรียกว่า Default Mode Network(DMN)
แล้วเราจะสลับสวิทซ์ จากวงจร คิดเอาเรื่อง(EF) ไปสู่วงจร คิดเอาเล่น(DMN) ได้อย่างไรกันล่ะครับ???