(ตอนที่ 2)ทักษะอะไรที่ลูกคุณต้องมี…เพื่อให้เป็นนายของ AI

จากตอนที่แล้ว “(ตอนที่ 1)ทักษะอะไรที่ลูกคุณต้องมี…เพื่อให้เป็นนายของ AI” ที่เราพูดถึงทักษะที่สามารถนำไปใช้ได้ในทุกงาน รวมถึงชีวิตประจำวัน และทักษะนี้จะทำให้ลูกหลานเราอยู่รอด และเป็นเจ้านายของ AI(Artificial Intelligence) ได้…

ทักษะนั้นก็คือ Soft skills

หนึ่งใน Soft skills ที่สำคัญก็คือ ทักษะการจูงใจให้เห็นจริง(Persuasive skill)

เคยบ้างไหมที่เรานำเสนองานต่อลูกค้า เจ้านาย เรามั่นใจว่า ได้เตรียมตัวมาอย่างดี

ลีลาการนำเสนอก็เด็ด น้ำเสียง ท่าทาง

แต่สุดท้ายก็ล่มไม่เป็นท่า

เพราะอะไร???

อย่าลืมว่า ความเก่ง ฉลาด(Hard skills) นั้น มีความจำเพาะสำหรับงานหนึ่งๆ เช่น แพทย์ ก็มีทักษะเฉพาะทางแพทย์ พอเป็นเรื่องทางวิศวกรรม ก็ไปไม่เป็น

และนับวันทักษะเหล่านี้ก็จะค่อยๆถูกรุกคืบโดยความก้าวหน้าแบบก้าวกระโดดของปัญญาประดิษฐ์(AI)

ถ้าเรายังสอนลูกหลานเราแต่เรื่อง Hard skill เชื่อได้ว่า มีปัญหากับพวกเค้าในอนาคตอย่างแน่นอน

แค่ลองมองย้อนกลับไปดูเพื่อนๆรุ่นเรา หลายๆคนที่เรียนเก่งมากๆ แต่ทำไมกลับเอาตัวไม่ค่อยรอด หรือได้ไม่ดีเท่ากับผลการเรียนของเค้า

ในขณะที่เพื่อนหลายคน เรียนปานกลาง แต่กลับเจริญก้าวหน้าในปัจจุบัน

นั่นก็เพราะทักษะที่ใช้จริงในชีวิตประจำวัน ไม่ใช่แค่เกรดที่สวยหรู


ทำไมคนบางคน เวลาพูดถึงดูน่าเชื่อถือเป็นอย่างมาก???

จะตอบคำถามนี้ เราต้องเข้าใจการทำงานของสมองเสียก่อน

“เพราะทุกอย่างเริ่ม และจบลงที่สมอง”

เมื่อคนเราได้ยินเรื่องราวที่ใหม่สำหรับเค้า สมองของเค้าจะยอมรับเรื่องเหล่านั้นเพราะอะไร

สมองของเราใช้พลังงานมากในการทำงานแต่ละครั้ง

เราจึงเลือกที่จะรับเฉพาะเรื่องที่เข้าใจง่าย 

ถ้าเรื่องไหน ใหม่ เข้าใจยาก สมองจะปิดการรับรู้ในทันที

มีการศึกษาถึงสมาธิ(Attention span) ของคนยุคปี 2000 เป็นต้นมา ที่ลดเหลือแค่ 8 วินาที!!!

You Now Have a Shorter Attention Span Than a Goldfish

องค์ประกอบของการเจาะสมองของคน

  1. สมองของแต่ละคนจะมีชุดความคิด(Library of Thought/Mindset) ที่มีลักษณะเฉพาะของแต่ละบุคคลอยู่

ชุดความคิดนี้ ถูกหล่อหลอมมาจากครอบครัว และสังคม

เช่น คนไทยมองเรื่องน้ำใจเป็นเรื่องใหญ่ ในขณะที่สังคมตะวันตกมองเรื่องระเบียบวินัยเป็นหลัก

คนเราจะรู้สึกผ่อนคลายเมื่อได้ยิน ได้ทำอะไรที่สอดคล้องกับชุดความคิดที่ตัวเองมีอยู่เดิม

อะไรที่ฝืนต่อชุดความคิดมาก และเร็ว สมองจะต่อต้านโดยอัตโนมัติ

  2. ความเชื่ออย่างแท้จริงจะเกิดเมื่อคนเราเข้าใจในเรื่องนั้นๆจริงๆ

กฏธรรมชาติของสมองอันหนึ่งก็คือ “สมองของเราจะไม่เชื่อเรื่องอะไรอย่างแท้จริง จนกว่าจะเข้าใจในเรื่องนั้น”

  3. สมองของมนุษย์มี 3 ชั้น และควบคุมแต่ละคนได้ไม่เท่ากัน

ชั้นใน เก่าสุด ทำตามสัญชาตญาณ คนที่สมองส่วนนี้เด่น ก็ไม่ต่างจากสัตว์ สิ่งที่จะจูงใจเค้าได้ดี คือเรื่องของการอยู่รอด ความโลภ ผลประโยชน์

ชั้นกลาง เน้นอารมณ์ คนที่สมองส่วนนี้เด่น ชอบเรื่องที่สะเทือนใจ อะไรที่เน้นอารมณ์ และความรู้สึก จะเข้าถึงเค้าได้มาก

ชั้นนอก คือ เหตุผล และตรรกะ คนที่สมองส่วนนี้เด่น ชอบอะไรที่เป็นหลักการ มีเหตุ และผล ไม่สนใจเรื่องของอารมณ์มากนัก 

  4. สมองของเรา คือสมองของการมองเห็น และคิดเป็นรูปภาพ

กว่า 70% ของเซลล์ประสาทส่วนรับรู้ของเรา อยู่ในตา นั่นคือ มนุษย์เราเกิดมาเพื่อการมองเห็นเป็นหลัก

สังเกตได้จาก เราชอบที่จะอ่านหนังสือที่มีรูปประกอบเยอะๆ มากกว่าหนังสือที่มีแต่ตัวหนังสือ

  5. สมองเราจำได้แต่หัว และท้าย

อย่างที่บอกว่า สมองของเราใช้พลังงานในการทำงานสูงมาก เราจึงคอยสงวนการทำงานของสมองไว้ตลอดเวลา เราจะจำเรื่องเล่าต่างๆ หรือเนื้อเรื่องของหนังได้ดีเฉพาะตอนต้น กับตอนจบ 

ดังนั้น “เริ่มต้องตื่นเต้น จบต้องจับใจ”


วิธีการนำไปใช้งานจริง

เมื่อเราเข้าใจถึงหลักการรับรู้ของสมองมนุษย์เราแล้ว เวลานำไปใช้งานจริง จะทำอย่างไรให้สอดคล้องกับหลักกการข้างต้น 

ถ้าทำได้ รับรองว่า โอกาสที่เราจะจูงใจคนได้ดี ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป

  1. รู้ชุดความคิด(Library of Thought/Mindset) ให้เร็วที่สุด … ก่อนที่จะเข้าไปพูดคุย หรือนำเสนองานกับใคร ควรหาข้อมูลว่า เค้าเป็นใคร เติบโตมาในครอบครัว หรือวัฒนธรรมแบบไหน ยึดถืออะไรเป็นแกนหลัก ที่ผ่านมาเวลาเจอกับเรื่องราว หรือปัญหาใหญ่ๆ เค้าใช้วิธีอะไรในการก้าวผ่านมา โดยเราอาจหาได้จาก สิ่งที่เค้าโพสลงโซเชี่ยล คนที่ยึดคุณธรรมเป็นหลัก ก็มักจะกล่าวถึงคติธรรม หลักธรรม วิธีการดำเนินชีวิตดีๆ อยู่เสมอ … “เป็นการยากมาก ที่คนที่ไม่เคยกล่าวถึงคุณธรรม จะประพฤติธรรม”
  2. ย่อยเรื่องใหม่ และยาก ให้สอดคล้องกับองค์ความรู้เดิมที่เค้ามี … สมองจะปิดการรับรู้ต่อเรื่องใหม่ๆ ที่ไม่มีความเชื่อมโยงกับเรื่องเดิมที่เค้าเข้าใจ และมีพื้นฐานดีอยู่แล้ว ดังนั้น เมื่อเราจะนำเสนอหลักการ วิธีการใหม่ๆ เราต้องโยงไปยังหลักคิด วิธีการเดิมๆที่เค้าคุ่นชินมาก่อนให้ได้ เช่น เมื่อองค์กรจะนำหลักการวัดคุณภาพขององค์กรใหม่ๆเข้ามา เช่น OKR(Objective and Key Results) เราไม่ควรเข้าเนื้อหาในทันที แต่ควรโยงถึง KPI ที่คนส่วนใหญ่เข้าใจดีอยู่แล้ว ว่า คืออะไร มีข้อดี และข้อเสียอย่างไร และ OKR นั้น มีข้อดี หรือจุดเด่นอะไรที่พัฒนาต่อยอดให้ดีกว่า KPI เป็นต้น
  3. แม้เราจะใช้หลักการใน 2 ข้อด้านบนแล้ว แต่เนื่องจากสมองของแต่ละคน มีการทำงานโดดเด่นถึง 3 แบบตามวิวัฒนาการ และการเลี้ยงดู บางคนชั้นใน คือสัญชาตญาณเด่น ก็ชอบเรื่องอะไรที่ให้ประโยชน์ของตัวเองนำมาก่อน เวลาเราจะนำเสนอ ก็ควรเริ่มจากว่า “เรื่องที่ผมจะนำเสนอนั้น จะช่วยให้คุณไม่ต้องสูญเสียเงินได้อย่างมหาศาล หรือ ถ้าคุณพลาดเรื่องเหล่านี้ บริษัทของคุณอาจแพ้คู่แข่งได้” … สำหรับคนที่สมองชั้นกลาง คืออารมณ์ทำงานโดดเด่น เวลานำเสนอ เราต้องมีเรื่องราวที่จับใจ เป็นเรื่องเล่าที่สะเทือนอารมณ์เข้าไปด้วย เช่น “คุณจะรู้สึกอย่างไรที่ผลิตภัณฑ์ของคุณ นอกจากจะสร้างผลประโยชน์ให้กับองค์กรแล้ว ยังสร้างอนาคตให้กับเด็กยากไร้อีกเป็นจำนวนมาก และเพียงคุณได้รู้ถึงสิ่งที่ผมจะเล่าให้ฟังต่อไปนี้ เชื่อเหลือเกินว่า คุณจะช่วยสร้างอนาคตให้กับเด็กด้อยโอกาส ให้กลายเป็นเด็กที่ได้โอกาสอีกนับไม่ถ้วน”… ส่วนคนที่สมองชั้นนอกคือ เหตุผล ทำงานเป็นหลัก สิ่งเดียวที่จะทำให้เค้าสนใจฟังก็คือ เรื่องราวที่มีหลักการ มีที่มาที่ไปชัดเจน มีเหตุผลรองรับ วัดผลได้ชัดเจน ดังนั้น คุณต้องทำการบ้านเตรียมตัวพร้อมตอบคำถามให้ดีในทุกสถานการณ์เป็นต้น
  4. สมองของเรา คือสมองของการมองเห็น และคิดเป็นภาพ ดังนั้น ไม่ว่าคุณจะนำเสนองานในรูปแบบใดๆ ก็ตาม ทั้งพรีเซนเตชั่น เล่า พูดคุย คุณต้องมีรูปประกอบที่เข้าใจได้ในทันที หรือถ้าเป็นการเล่า ก็ต้องเล่าให้เห็นเป็นภาพได้อย่างชัดเจน เช่น แทนที่จะบอกว่า มะขามของคุณมีรสชาดเปรี้ยวถึงใจ แค่ปรับคำพูด และน้ำเสียงใหม่ว่า “มะขามของเรา เพียงแค่แต่บนลิ้น คุณจะรู้สึกถึงความเปรี้ยวจิ๊ดดดดดดดดดด ขึ้นสมอง น้ำลายคุณจะออกมาเหมือนเขื่อนแตก” เป็นต้น
  5. ต้นตื่นเต้น กลางกลมกล่อม จบจับใจ คือหลักการของการนำเสนอในทุกๆครั้ง เมื่อเริ่มต้นหาเรื่องราวที่ตื่นเต้น น่าสนใจมานำเสนอ แล้วโยงเข้าสู่เนื้อหาในตอนกลาง และจบให้สวยงามจับใจ และอย่าลืม สรุป เป็น Key Takeaway message ด้วยทุกครั้ง กันลืม

สรุป

  1. ทักษะสำคัญที่จะทำให้เราเหนือกว่า AI ก็คือ Soft skills และหนึ่งใน Soft skill ที่เราต้องมี และเก่ง ก็คือ Persuasive skill
  2. จะจูงใจให้เห็นจริงได้ดี ต้องเข้าใจถึงการทำงานของสมองมนุษย์ เพราะแท้จริง แล้ว เราไม่ได้จูงใจ แต่เรา จูงสมอง
  3. ฝึกปฏิบัติตามวิธีการ และหลักการข้างต้น ให้ชำนาญ จนเป็นอัตโนมัติ(Autopilot) รับรองได้ว่า Contents ที่คุณนำเสนอหลังจากนี้ จะเป็นคอนเทนท์ที่เต็มไปด้วยคุณภาพ แม้ลีลาจะธรรมดา แต่ก็สามารถสะกดสมองผุ้ฟังได้ดีอย่างแน่นอน

Credit Image:https://www.influencepeople.biz/2018/03/brains-evolution-principles-persuade.html

คิดปรับมุม BRAINCHEF
DOCTOR T NEURO
ดอกเตอร์ทีนิวโร

เพียงส่งต่อ “Serotonin” โลกใบนี้ก็ “เย็น” ลงอีกเยอะ

ปัญหาโลกร้อน(Global warming) เป็นภัยอันตรายอันใหญ่หลวงของมวลมนุษยชาติ และลูกหลานของเราในอนาคต

ถ้าไม่มีมาตรการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน(Disruptive changes) ใดๆ ภายในปี 2100 โลกของเราอาจประสบกับภัยพิบัติอย่างมหาศาล

ไม่ว่า Superstorm ซึนามิ แผ่นดินไหว น้ำท่วมเมืองสำคัญทั่วโลก รวมไปถึง การแก่งแย่งอาหารยิ่งกว่าทองคำ

We Are So Screwed: Study Warns Of 5 Degree Celsius Warming By 2100

Global warming เป็นภัยคุกคามทั่วโลกแบบ “ภายนอก”

แต่ยังมีภัยคุกคามต่อทุกคนแบบ “ภายใน” อีกที่เราอาจจะอยู่กับมันจนลืมสังเกตไป

Internal warming หรือคือ “ความเร่าร้อนภายในจิตใจของเราทุกคนนั่นเอง”



เคยไหมที่ กำลังจะไปทำงาน แต่แล้วก็มีเรื่องกวนใจเข้ามาอย่างต่อเนื่อง

และเป็นเรื่องที่ล้วนแล้วแต่ต้องจัดการมันทันที

เพราะมัน “ตะโกนเสียงดัง”

ทำให้ตัวของมัน ถูกจัดลำดับความเร่งด่วนขึ้นมาก่อน 

ทั้งๆที่หลายเรื่องนั้น มีความสำคัญไม่มาก

แต่เราก็ต้องลงไปจัดการมันก่อนอยุ่ดี

เช่น บางคนมีหน้าที่การงานที่ต้องรับผิดชอบมาก

มีภารกิจที่ได้รับมอบหมายมาก่อนหน้า และต้องทำให้เสร็จทันเวลา

รวมไปถึงงานประจำหลักที่ส่งผลต่อผู้อื่น 

ไม่ว่าจะเพื่อนร่วมงานที่รองานของเราเพื่อไปประกอบเป็นงานขั้นตอนสุดท้าย

คนไข้ที่รอหมอมาดูญาติที่กำลังป่วย 

ทุกนาทีที่คนไข้ กับญาติเฝ้ารอดูว่า เมื่อไหร่หมอจะมาถึง

ความเร่าร้อนในใจของคนไข้ และญาติ บางทีมันร้อนกว่าอุณหภูมิของโลกเสียอีก 

หมอเองก็เร่งรีบอย่างสุดกำลัง

แต่เหตุไม่คาดฝันก็เกิดได้ตลอด

ไม่ว่า ญาติสนิทของหมอป่วย

ลูกหมอป่วย หมาที่บ้านก็ไม่มีใครดูแล

รวมไปถึงเรื่องที่คาดไม่ถึงอย่าง ท่อน้ำที่ฝังอยุ่ในกำแพงห้องน้ำแตก น้ำรั่วออกมาเป็นทางยาวตลอดคืน

ถ้าเราเอาเครื่อง fMRI ไปสแกนสมองของหมอในตอนนี้

สิ่งที่จะเห็นก็คือ

Credit:https://atlasofscience.org/fear-of-anxiety-and-the-brain/

จากรูปแสกนสมองด้านบน จะเห็นได้ว่า บริเวณที่เกี่ยวข้องกับอารมณ์ ความเครียด วิตกกังวลกำลังทำงานอย่างมาก

ซึ่งก็จะส่งผลต่อสมาธิของเจ้าของสมอง

ประสิทธิภาพในการทำงาน โดยเฉพาะงานที่ต้องการสมาธิอย่างสูง ก็จะต่ำกว่าที่เคยเป็น

หรือจะพูดง่ายๆว่า “สมองกำลังร้อน” “Brain on fire”


แค่ส่งต่อ “Serotonin” ก็ลด “สมองร้อน” ได้!!!

https://karmayogadaily.com/2016/04/17/how-to-enhance-your-serotonin-level/

ในขณะที่สมองของเราที่กำลังร้อนเป็นไฟ

ระดับซีโรโทนิน(Serotonin) ที่เป็นสารสื่อประสาทภายในสมอง ที่ช่วยให้เราผ่อนคลาย ก็แปรปรวน ลดลงกว่าปกติ

แค่เราทำอย่างไรก็ได้ให้ระดับของ Serotonin กลับขึ้นมาเป็นปกติ เจ้าของสมองก็จะมีอารมณ์ที่ดี ผ่อนคลายขึ้นได้อย่างไม่น่าเชื่อ

ดังที่พบเห็นได้จากการให้ยาเพิ่มระดับของ Serotonin ในผู้ป่วยวิตกกังวล และซึมเศร้า

เพียงได้รับยาไปไม่กี่สัปดาห์ อาการวิตกกังวล เครียด ซึมเศร้า ก็จะดีขึ้นได้อย่างมาก

แต่ ในกรณีที่ไม่ได้เจ็บป่วยล่ะ แค่มีสถานการณ์ไม่คาดคิดเข้ามาพร้อมๆกัน 

เราในฐานะคนพบเห็น คนใกล้ชิด เพื่อน จะช่วยเพิ่มระดับ Serotonin ให้เค้าได้อย่างไรล่ะ


ง่ายๆ ก็แค่ มองเข้าไปในตา ฟังในน้ำเสียงของเค้า อย่างเข้าใจ

แล้วลองช่วย “ส่งต่อ Serotonin” ให้กับเค้า

ด้วยวิธีง่ายๆ เช่น

เพื่อนที่มีน้ำใจหลายๆคน ช่วยกันผลัดมาดูแลบ้านให้อย่างร่าเริง

บ้างก็มาดูแลน้องหมาให้เป็นอย่างดี

บางคนพอได้รู้ว่า มีปัญหาท่อน้ำในกำแพงรั่ว น้ำไหลตลอดคืน ก็ไม่รอช้า

พาลูกน้องที่เป็นช่างมาช่วยแก้ไขให้อย่างรวดเร็ว

ทั้งหมดนี้ดูเป็นเรื่องที่อาจไม่ได้ใหญ่โตมากมายนัก ในสายตาคนอื่นๆ

แต่ในสมองของคนที่กำลังกังวลว่า จะจัดการเรื่องเหล่านี้ได้อย่างไรดี

มันช่างคือความรู้สึกอิ่มเอม ผ่อนคลาย และขอบคุณอย่างสูงสุด

และเมื่อย้อนกลับมาดูสมองของเค้าในตอนนี้

สิ่งที่จะเห็นก็คือ

https://www.so-mindfulness.com/494-2/az/

สมองของเค้าจะ “เย็นลง” ผ่อนคลายคล้ายกับคนที่ผ่านการ “ทำสมาธิ” มานั่นเอง

และเมื่อตรวจถึงระดับของ Serotonin ภายในสมองตอนนี้

ก็จะพบว่า ระดับของ Serotonin เพิ่มขึ้นมาอยุ่ในระดับใกล้เคียงปกติ

นั่นคือ

“น้ำใจที่ “หยิบยื่น” ให้(Active mercy)” 

มันคือการ “ส่งต่อ Serotonin” ให้กับเค้านั่นเอง!!!


Serotonin ที่ส่งต่ออย่างไม่มีที่สิ้นสุด

เมื่อเค้ามีอารมณ์ที่ดีขึ้น ผ่อนคลาย ไร้กังวล เค้าก็จะกลับไปทำหน้าที่หลักได้ดีตามเดิม

ทำได้อย่างปลอดกังวล

งานที่คั่งค้าง คนไข้ และญาติที่รออยู่

ซึ่งภายในสมองของผู้คนเหล่านั้นก็ “ร้อน” อยู่เช่นกัน

เมื่อสิ่งที่รอคอย ค่อยๆได้รับการแก้ไขจากคนที่เค้าเฝ้ารอ

สมองของคนเหล่านั้น ก็จะ “เย็นลง” เช่นกัน

ระดับ Serotonin ในสมองของเค้าเหล่านั้น ก็จะค่อยๆกลับมาเป็นปกติเช่นกัน

นั่นก็คือ


น้ำใจที่ “หยิบยื่น” ให้(Active mercy) คือ การส่งต่อ Serotonin ได้อย่างไม่มีที่สิ้นสุด

“Internal warming” ก็จะกลายเป็น “Internal cooling” ในที่สุด

เมื่อ “โลกภายใน เย็นลง” เชื่อเถอะว่า “โลกภายนอก ก็จะเย็นลงตาม”

เรามาส่งต่อ Serotonin กันเถอะครับ



คิดปรับมุม BRAINCHEF
DOCTOR T NEURO
ดอกเตอร์ทีนิวโร

(ตอนที่ 1)ชนะใจคนง่ายๆ ด้วยเทคนิคเจาะลึกถึงสมองทั้ง 3 ส่วน

joe_nose-brainThe Reptile Brain, Illustration by Joe Scordo for the book Hidden Scents
คุณเคยสงสัยบ้างไหมครับว่า ทำไมบางคนถึงเป็นคนที่ชักจูงคนได้เก่ง พูดแล้วฟังดูน่าเชื่อถือ ทำให้คนส่วนใหญ่เชื่อตามได้ง่าย ในขณะที่บางคนพูดแล้วฟังดูสับสน แม้จะสาธยายข้อมูลเสียมากมายก่ายกอง
เพราะลีลา? เพราะฐานะทางสังคม? แค่นั่นหรือ
จริงๆ เรื่องเหล่านี้เป็นทักษะ(Skill) ที่ทุกคนสามารถจะฝึกให้ดีขึ้นได้ เพียงแค่เพิ่มเติมความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการทำงานของสมองมนุษย์เราเข้าไปเท่านั้นเอง

.

เพราะทุกอย่างล้วนเกิดขึ้นที่สมอง ตั้งอยู่ และจบลงที่สมองของเราทั้งสิ้น!!!
อ่านเพิ่มเติม “(ตอนที่ 1)ชนะใจคนง่ายๆ ด้วยเทคนิคเจาะลึกถึงสมองทั้ง 3 ส่วน”

The Best Age for Kids to Learn a Second Language due to Neuroscience

มันจะเยี่ยมยอดสุดๆไปเลยหรือไม่ ถ้าการเริ่มต้นเรียนภาษาที่สอง เช่น ภาษาอังกฤษ ไม่ได้มีประโยชน์กับลูกของคุณเพียงแค่ในด้านที่จะนำไปใช้ต่อยอดในอนาคต แต่มันมีความหมายที่มากไปกว่านั้น และประโยชน์ที่มากกว่านั้น หมายถึง

การกระตุ้นพัฒนาการของสมองในด้านความคิดสร้างสรรค์ รวมไปถึงการคิดวิเคราะห์ แยกแยะ อย่างเป็นระบบอีกด้วย!!! อ่านเพิ่มเติม “The Best Age for Kids to Learn a Second Language due to Neuroscience”

หมอกจางๆ(Love critics) หรือควัน(Hate critics)…เพียงแยกให้ออก ชีวิตจะดีขึ้นเป็นเท่าตัว

นกที่บินสูง เพราะรู้จักขนของตัวมันเองดีกว่านกที่บินต่ำ…

คนเราก็เช่นกัน จะเป็นคนที่ดีขึ้นกว่าคนเดิมได้ ต้องมีการพัฒนา
ถ้าหยุดพัฒนา ก็จะถูกแซงอย่างแน่นอน
ไม่มีใครอยากอยู่รั้งท้าย
ดังนั้นการพัฒนาตัวเองอยู่ตลอดเวลา จึงเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้
คำถามก็คือว่า แล้วเราจะพัฒนาจุดไหนในตัวของเรา
ถึงตรงนี้หลายคนอาจจะหยิบกระดาษขึ้นมา เพื่อลองลิสต์จุดที่ “ตัวเอง” คิดว่าเป็นจุดพัฒนา
แต่ด้วยธรรมชาติของสมองมนุษย์ เราจะมีความลำเอียง หรืออคติ(Bias) ที่ทำให้เราคิดว่า

“เรารู้จักตัวเราเอง ดีกว่าที่คนอื่นๆรู้จักตัวเรา”

และเรามักจะเลือกที่จะฟังความเห็นจากคนอื่นที่สอดคล้องกับความเห็นของเรา(Confirmation bias)
ซึ่งทั้งหมดนี้ ทำให้โอกาสในการพัฒนาตัวเองของเราหายไป โดยที่เราไม่รู้ว่า เรากำลังถูกสมองส่วนใน(Inner brain) หลอกเราอยู่
tribalism-1201697_1920 อ่านเพิ่มเติม “หมอกจางๆ(Love critics) หรือควัน(Hate critics)…เพียงแยกให้ออก ชีวิตจะดีขึ้นเป็นเท่าตัว”