คงไม่มีใครที่ไม่อยากพบกับสิ่งที่เรียกว่า “โชคดี” ขนาดถุงกระดาษสมัยก่อนยังมีชื่อว่า “ถุงโชคดี” เลยครับ
p1kby4f1kt24mcoHe2-o.jpg
แต่สิ่งหนึ่งที่คนส่วนใหญ่เข้าใจก็คือว่า โชคดี คือสิ่งที่เรากำหนดให้เกิดขึ้นไม่ได้เอง???
อย่างสลากกินแบ่งรัฐบาล เวลาที่เราถูก”แดรก” ก็จะต้องมีประโยคยอดฮิตตามมาว่า โชคไม่ดีเลย
แล้วจริงๆเป็นอย่างนั้นหรือที่ว่า “โชคดี” เกิดขึ้นเอง ไม่มีใครกำหนดขึ้นได้
แต่ในความเป็นจริง ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้ล้วนเกิดขึ้นจากองค์ประกอบเล็กๆ ที่มารวมตัวกันเป็นสิ่งที่ใหญ่ขึ้นทั้งสิ้น
จากการสังเกต และค้นคว้ามาระยะหนึ่ง ผมคิดว่า องค์ประกอบหลักของ “โชคดี” มีดังนี้
  1. Randomization(R) หรือ การสุ่ม
  2. Action(A) หรือ การมุ่งมั่นสร้างคุณค่าให้กับตัวเองอย่างสูงสุด
  3. Noticeability(N) หรือ การทำตัวให้โดดเด่น และถูกมองเห็น
รวมเรียกง่ายๆว่า RAN
  1. Randomization คือ การสุ่ม หรือโอกาสของความเป็นไปได้ในเรื่องนั้นๆ ถ้าโอกาสของความเป็นไปได้มีมากเท่าไหร่ การที่จะประสบโชคดีในเรื่องนั้นๆก็ย่อมน้อยลงไปโดยอัตโนมัติ เช่น เมื่อคุณซื้อลอตเตอรี่ โชคดีที่จะถูกรางวัลที่หนึ่ง ย่อมน้อยลงผกผันไปตามจำนวนเลขที่มีทั้งหมด หรือ ถ้าคุณอยากเป็นดารา และต้องการสร้างโชคดีในการเป็นดารา คุณต้องเพิ่มโอกาสในการถูกสุ่มเลือก ด้วยการนำตัวของคุณเองเข้าไปอยู่ในสถานที่ๆมีโอกาสในการถูกสุ่มเลือกสูง เช่น เราคงไม่เอาตัวเราไปอยู่ในโรงอาหารของโรงงาน แต่เราควรที่จะนำตัวเราเองเข้าไปอยู่ในที่ๆมีแมวมอง และดาราเป็นจำนวนมากไป ไม่ว่าจะเป็นกองถ่าย งานแต่งงานของคนมีชื่อเสียงในวงการดาราเป็นต้น
“คุณอยากที่จะมีโชคในเรื่องไหน ให้เอาตัวเองไปอยู่ในที่ๆโชคดีในเรื่องนั้นๆไปสุมหัวกันอยู่นั่นเอง”
     2. Action คือ การมุ่งมั่นสร้างคุณค่าให้กับตัวเองอย่างสูงสุด โดยอย่างย่อก็คือ การสร้าง Hard skill ให้กับตัวเราเองให้ได้มากที่สุด ถ้าคุณเป็นนักขาย คุณต้องเข้าใจในสินค้า และบริการของคุณให้ถ่องแท้ที่สุด ทำตัวให้เป็นอับดุล(ถามอะไร ก็ตอบได้) ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะทำให้อัตราการสุ่มในข้อที่ 1 ลดลงไปเองโดยอัตโนมัติ เช่น ถ้าเราอยากเป็นนักเต้นระดับประเทศ เราเอาตัวเราเข้าไปอยู่ในแวดวงของนักเต้นตามเวทีต่างๆแล้ว แต่เราไม่มีทักษะการเต้นที่แข็งแรงเลย ต่อให้จำนวนของนักเต้นในเวทีประกวดนั้นไม่เยอะ โชคดี ก็คงไม่ได้อยู่ข้างเดียวกับเราอย่างแน่นอน กลับกัน แม้จะมีนักเต้นมาร่วมประกวดเป็นจำนวนมาก แต่เรามีทักษะการเต้นที่ดีเยี่ยม โอกาสที่โชคดีจะถูกสุ่มเข้ามาที่เราก็เพิ่มขึ้นโดยอัตโนมัติ
       
    3. Noticeability คือ การทำตัวให้โดดเด่นเตะตา หลายคนที่มี Hard skill ที่ดี เช่นเป็นนักขายที่รู้เรื่องรถที่ตัวเองขายเป็นอย่างดีหมด คุณสมบัติน้อยใหญ่ รายละเอียดต่างๆไม่มีพลาด และนำพาตัวเองเข้าไปสู่กลุ่มเป้าหมายที่น่าจะเป็นลูกค้าได้ในอนาคตแล้ว(ลดอัตรา Randomization) แต่เมื่อได้มีโอกาสพูดคุยกับผู้คาดหวัง กลับมีทักษะในการนำเสนอ โน้มน้าวใจ(Soft skill) ที่อ่อนปวกเปียก เมื่อผู้คาดหวังที่เป็นนักธุรกิจหนุ่มที่เพิ่งประสบความสำเร็จได้ซักถามถึงงานที่นักขายคนนี้ทำอยู่ เค้ากลับพูดแต่เรื่องของเค้าเอง ก็คือ Features ของรถ ที่มันฟังดูแล้วยุ่งยาก ซับซ้อนเกินไป เช่น เครื่อง 8 สูบ แรงบิดกี่นิวตันเมตร ทำจากโลหะไวเบรเนี่ยม บลาๆๆๆ สิ่งเหล่านี้นักธุรกิจที่เพิ่งประสบความสำเร็จไม่ได้สนใจเลย กลับกันถ้านักขายคนนี้มี Soft skill ในการโน้มน้ามใจ และรู้ในหลักของประสาทวิทยาศาสตร์สักหน่อย ก็จะนำเสนอว่า เค้าขายรถที่ไม่ว่าใครที่เมื่อได้มองเห็น ก็จะต้องหยุดสายตาแล้วถามทันทีว่า ราคาเท่าไหร่ และแค่เพียงสตาร์ทรถ หัวใจของผู้ที่ได้ยินเสียงก็จะเต้นเร็วเหมือนไปวิ่งแข่ง 100 เมตรมา และเชื่อมั่นได้ว่า ใครที่ได้เป็นเจ้าของ จะต้องการขับไปในทุกงานเลี้ยงหรูอย่างไม่เคยรู้สึกน้อยหน้าใคร
opportunity.png
สรุป
การมีโชคดี เป็นสิ่งที่มีโครงสร้างที่ค่อนข้างชัดเจน จับต้องได้ และฝึกได้ เพราะมันคือ การลดอัตราการสุ่ม(Randomization) ด้วยการใช้ทักษะ(Skills) ทั้ง Hard skill และ Soft skill นั่นเอง
ดังนั้นต่อไปถ้าเราได้ยินว่า ใครพูดว่า คนนั้นโชคดีจัง เราต้องรู้ได้ทันทีเลยว่า จริงๆแล้ว คนๆนั้นได้ทำอะไรมาก่อนหน้าที่เป็นการลดอัตราการสุ่มลงไปหรือไม่ ทั้งหมดไม่ใช่เกิดขึ้นแบบไร้ซึ่งเหตุ และผลอย่างแน่นอน
สนใจอ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://www.goodreads.com/book/show/35749437-how-luck-happens
คิดปรับมุม BrainChef
DoctorT Neuro
ดอกเตอร์ทีนิวโร

ใส่ความเห็น